สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก : 8 มกราคม 2553นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เปิดแถลงชี้แจงกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กับพวก คดีบุกรุกเขายายเที่ยงว่า คดีนี้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเขต 3 มีคำสั่งไม่ฟ้องตามพนักงานสอบสวนไปเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มีความเห็นชอบกับอัยการไปเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2552 ดังนั้น คดีจึงเสร็จเด็ดขาด โดยเหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากที่ดินบนเขายายเที่ยงแปลงที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ครอบครองนั้น จากการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมีหลักฐานว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 (พ.ศ.2508) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งกำหนดให้ป่าเขาเตียนและป่าเขาเขื่อนลั่น (เขายายเที่ยง) ในท้องที่ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง และตำบลลาดบัวขาว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะเข้าครอบครองปลูกเป็นที่พักอาศัย ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ซึ่งนายเบ้าได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว โดยไม่มีเอกสารสิทธิจำนวน 10 ไร่ โดยไม่ทราบว่าเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนฯ แล้วเข้าไปทำไร่มันสำปะหลัง ละหุ่ง และข้าวโพด นอกจากนั้นที่ดินในเขตป่าสงวนเขายายเที่ยงยังมีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยทำกินเป็นจำนวนมากอย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2518 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยง เพื่อจัดสรรให้ราษฎรทำกินครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ (ให้ทำกินครอบครัวละ 14 ไร่ 2 งาน และให้เป็นที่อยู่อาศัยอีก 2 งาน) โดยมีเงื่อนไขไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้สิทธ์ครอบครองตกทอดถึงทายาทโดยธรรมได้เป็นการถาวร เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนมาครอบครองโดยวิธีกว้านซื้อ โดยกรมป่าไม้จะออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวโดยจัดตั้งในรูปหมู่บ้านป่าไม้ นายเบ้า และบุตรเขย จึงได้รับการจัดสรรที่ดินคนละ 15 ไร่ รวม 30 ไร่ และได้มีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.5) ตลอดมา ตั้งแต่ปี 2520-2538ต่อมานายเบ้า ได้ขายที่ดินของตนเองและบุตรเขย จำนวน 20 ไร่ ให้นายนพดล พิทักษ์วาณิชย์ เมื่อปี 2538 พร้อมมอบหลักฐานการแสดงภาษี ให้แก่นายนพดลด้วย และนายนพดลได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างปี 2538-2540 ต่อมา พ.อ.สุรฤทธ์ จันทราทิพย์ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปี 2540-2545 และในวันที่ 6 ก.ค. 2543 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ไปยื่นขอออกเลขที่บ้าน เลขที่ 10 ตำบลคลองไผ่ (เดิมอยู่ในเขตตำบลลาดบัวขาว) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของ พล.อ.สุรยุทธ์ ในปัจจุบัน และในวันที่ 4 ก.ค. 2546 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ขออนุญาตใช้ไฟฟ้าในบ้านหลังดังกล่าวในปี 2545 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีหลักฐานว่าผู้ยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ ในที่ดินดังกล่าว คือ พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยาของ พล.อ.สุรยุทธ์ ซึ่งที่ผ่านมา กรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกับผู้ใดเลย ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2550 นายคุ้มพงษ์ ภูมิภูเขียว กับพวกรวม 12 คน ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ กับพวก ในข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยงดังกล่าว โดยพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ (ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ต้องหาที่ 2 ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ต้องหาที่ 3 และนายวิชัย แหลมวิไล อธิบดีกรมป่าไม้ เป็นผู้ต้องหาที่ 4ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 ในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ และร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินฯ ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยส่งสำนวนให้กับพนักงานอัยการจังหวัดสีคิ้วพิจารณาตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 โดยพนักงานอัยการจังหวัดสีคิ้วได้พิจารณาและสอบสวนเพิ่มเติมบางประเด็นและเสนอสำนวนให้อธิบดีอัยการเขต 3 มีคำสั่ง ซึ่งอธิบดีอัยการเขต 3 ได้มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 เช่นเดียวกันกับพนักงานสอบสวน โดยเห็นว่า นายเบ้า และราษฎร มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเป็นการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองต่อมาของ พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ์ของนายเป้า จึงขาดเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้ให้ความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องของอธิบดีอัยการเขต 3 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552กรณีการครอบครองที่ดินผิดเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรี อัยการจังหวัดสีคิ้ว ได้มีหนังสือ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553 แจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) ดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของแผนงานจัดที่ดินให้แก่ราษฎรในรูปหมู่บ้าน ป่าไม้และสหกรณ์การเกษตร ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แม้ทางออกโล่งข้างต้นจะดูโล่งซะขนาดนี้ แต่ข้อเท็จจริงนั้นแตกต่างกันลิบลับไม่สามารถจะนำมาเทียบเคียงได้กรณีที่ดินเขายายเที่ยงนั้น ที่ดิน 20 ไร่ที่พลเอกสุรยุทธ์ได้มานั้น เป็นการซื้อต่อจากชาวบ้าน (นายเบ้าและลูกเขย) ที่เขาได้รับสิทธ์จัดสรรที่ทำกินจากกรมป่าไม้ ที่จัดสรรให้ทำกินเป็นแนวกันชนจะได้ไม่รุกป่าเพิ่ม ตีกันนายทุนรุกป่า แต่เขาไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ใดๆ ให้ นอกจาก ภบท.5 ห้ามซื้อขายยกเว้นตกทอดแก่ทายาทเท่านั้นเมื่อคนที่เข้าไปครอบครองต่อเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ จึงต้องคืนที่ดินกลับไปยังหน่วยงานรัฐ และไม่ถือเป็นความผิดเพราะเป็นการครอบครองต่อจากผู้ที่เขาได้รับสิทธิ์ได้รับจัดสรรอย่างถูกกฎหมายมาแต่ต้น เพียงแต่ตนเองขาดคุณสมบัติจึงต้องส่งคืนที่แต่ของเอ๋-ปารีณา นั้นต่างออกไป เพราะที่ดิน 680 ไร่เศษของเอ๋-ปารีณานั้น เป็นการรุกที่ หรือกว้านซื้อที่จากชาวบ้านที่เขาก็ไม่ได้สิทธิ์ ไม่ได้รับจัดสรรที่ทำกินจาก สปก. หรือกรมป่าไม้มาแต่แรกอยู่แล้วเจตนารมย์ในการครอบครองมันขัดเจนแตกต่างจากกรณีเขายายเที่ยงลิบลับ และข้อเท็จจริงมันต่างกันลิบลับ จึงไม่อาจจะนำมาเทียบเคียงได้กรณีดังกล่าว จึงไม่สามารถจะมา "มั่วนิ่ม" ใช้ช่องทางนี้หนีคดีได้!โดย..แก่งหินเพิง