พี่นก ดุนะ.. ได้มีโอกาสสนทนา สอบถามความคิดเห็นจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน วิรไท สันติประภพ ที่กำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่ง ในเร็วๆ วันนี้เมื่อถามถึงคนใหม่ที่สมัครเข้ารับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งส่งเรซูเม มาเป็นคนสุดท้ายและในวันสุดท้าย เพราะเห็นว่า ทั้งสองคนสนิท ชอบพอ คุ้นเคยในฝีไม้ลายมือในการทำงานกันตั้งแต่ปี 2540 วิกฤติต้มยำกุ้ง เพราะทั้งสองคนเป็นทีมงานหัวใหม่ในสมัยนั้น เข้าไปช่วยนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ จนเกิดเป็นโครงการมิยาซาว่า ใช้เงินกู้จากญี่ปุ่น เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย คำสั้นๆ แต่ได้ใจความ ว่า “พี่นก ดุนะ” พี่นก ในที่นี้คือ..ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ดอกเตอร์จากเยล หนึ่งในสิบ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกดุนะ..เป็นคำนิยามที่ใคร ๆ ที่เคยได้พบปะหรือได้รับการสั่งสอนจาก ดร.นก พูดตรงกัน ก็น่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะงานที่จะต้องเดินไปข้างหน้า และสานต่องานจากน้องชายที่รัก จาก ดร.ก็ คืองานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจเพื่อจะปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยให้เดินไปข้างหน้า ภายใต้แนวความคิด นิวนอร์มอล เพราะเศรษฐกิจและสังคมของไทย เป็นไปอย่างสิ้นเชิงสิ่งที่ ดร.ก็ ทำไว้ในขณะนี้คือ การที่จะพยายามทำให้เศรษฐกิจของไทยเดินหน้าไปอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความเข้มแข็งของระบบสถาบันการเงินไทย ที่ได้เตรียมความพร้อมด้านเงินทุน สำรองรองรับปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการเงิน ได้ถึงระดับที่เศรษฐกิจติดลบ 13 % อย่างสบาย ๆนั่นหมายถึงว่า หากบริษัทเอกชนมีปัญหาเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินจะต้องปรับเพิ่มขึ้น ก็ยังสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ โดยจะมีผลกระทบต่อเงินทุนไม่มากและรองรับได้กันถึง 3 ปี ที่เป็นไปตามความคาดหมายของเศรษฐกิจโลกที่กว่าจะปรับตัวให้กลับเข้าสู่จุดสมดุลย์ได้ใหม่ก็จะต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี เลยทีเดียวคือต้องมั่นใจว่า โรคโควิด 19 จะมีวัคซีนที่สามารถฉีดให้ประชากรโลกที่มีไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านคน ได้ฉีดกันถ้วนหน้า และทำให้เกิดการขนส่ง เดินทาง การกิน การใช้ เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ก็ต่อเมื่อปี 2565 หรือปลายปี 2564 เป็นอย่างน้อยดร.ก็ ยังเล่าอีกว่า ในระหว่างนี้ ธุรกิจที่รู้ตัวว่าอยู่ไม่รอด โรงแรม การท่องเที่ยว เอสเอ็มอี ที่ยังพยายามไข่วคว้า เพื่อหาหนทางรอดหรือความหวัง ถ้ารู้ว่ามันไม่ได้ ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ รีบไปขอปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน เพื่อจะทำให้สามารถมีเงินทุนหมนุเวียนที่มีอยู่น้อยนิด หาหนทางแนวทางอย่างไรเพื่อทำมาหากินหล่อเลี้ยงธุรกิจให้เดินต่อไปได้และหากคิดว่าไม่ได้ ก็ต้องยอมรับที่จะล้ม หรือเลิกกิจการ อย่าพยายามทำเพื่อต่อเวลาไปเรื่อย ๆ เพราะจะกลายเป็นว่าจะต้องจมอยู่กับธุรกิจ จนสุดท้ายก็จะติดกับดักวังวนหาทางออกไม่ได้ และล้มลงในที่สุดหลายธุรกิจ ยังหวังรอความช่วยเหลือจากภาคการเมืองหรือภาครัฐ คงต้องรับความจริงว่า สุดท้ายรัฐก็ไม่สามารถช่วยได้ทุกคน ต้องเลือกคนที่จะช่วยเพื่อให้เดินถึงฝั่งการยอมรับความเป็นจริง จะทำให้เดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงมากกว่าพี่นก ดุนะ ต้องรอดูว่า มาตรการใหม่ๆ ที่ผู้ว่าการการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ จะเข้ามารับนำพาเศรษฐกิจของประเทศไปในครั้งนี้ จะมีทิศทางอย่างไร ถ้าจะดุ ก็ต้องดุ ให้ถ้วนทั่ว ทั้งการเงิน การคลัง แม้กระทั่งนักการเมือง โดย..คนข้างนอก