เก่งหรือฟลุ๊ก! ไม่รู้? แต่โครงการ/มาตรการ “เยียวยา - ฟื้นฟู” ที่รัฐบาลลุงตู่ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ สู้กับไวรัสโควิดฯ รอบนี้ โดนใจ “องค์กรระหว่างประเทศ” แถมกระตุกเศรษฐกิจที่เคยดิ่งเหว ให้โงหัวกลับขึ้นมา “ติดลบน้อยลง” ได้ แต่จะดีกว่านั้น...หากรัฐบาลแจกแจงรายละเอียด “ความคุ้ม” เทียบเงินนับล้านล้านที่เสียไป กับสิ่งที่ได้มา ทั้งในเชิงปริมาณและคุณค่ากับประเทศ (เศรษฐกิจ) และคนไทยด่ากันขรมเมือง! สำหรับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐบาล...แค่ไม่ถึงปี รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เทเงินนับล้านล้านบาท ทั้งเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และจาก พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อให้ “ทีมเศรษฐกิจ” ที่เปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก! ได้นำไปต่อสู้กับไวรัสโควิด-19หวังฉุดเศรษฐกิจที่ “ดิ่งเหว” ให้ฟื้นกลับคืนมาโดยเร็ว...สุดท้ายมันคุ้มค่าหรือไม่?นับแต่...มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนหน้าจะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั่นคือ มาตรการ “ชิมช้อปใช้” ที่รัฐบาลจ่ายเงินไปกับมาตรการนี้ ทุกเฟสรวมกว่า 1.3 หมื่นล้านบาทครอบคลุมผู้คนกว่า 13 ล้านคน รวมถึงร้านค้า รายย่อย รายเล็ก เรื่อยจนถึงรายใหญ่และยักษ์ อีกนับแสนแห่ง...ถึงมาตรการเยียวยา “เราไม่ทิ้งกัน” กับการแจกเงิน “5 พันบาท” เป็นเวลา 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 2563) ใช้งบประมาณไปกว่า 2.17 แสนล้านบาท ดูแลคนราว 14 ล้านคนล่าสุด กับมาตรการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกลับมาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ผ่านโครงการ “คนละครึ่ง” และ “ช้อปดีมีคืน”ที่ต้องใช้เงินอีกหลายแสนล้านบาท ครอบคลุมทั้งคนและร้านค้า ซึ่งว่าจะไปก็อยู่ในกลุ่มคนเดิมๆ รวมกันไม่เกิน 15 ล้านคน และ 4-5 แสนร้านค้า ระดับรายย่อยขึ้นไป...วนอยู่ในคนกลุ่มนี้แถมรัฐบาล เตรียมจะผุดโครงการคนละครึ่ง “เฟส 2” ให้เป็นของขวัญปีใหม่กับคนไทยในเร็วๆ นี้อีกวันนี้...มีผู้คนในโลกโซเชียล มีคำถามตัวโตๆ ไปถึงรัฐบาล ทำนอง....มันคุ้มค่าแค่ไหน? กับการกู้เงิน 4.5 หมื่นล้านบาท มาจ่ายให้คน 10 ล้านคน ซื้อสินค้าและบริการผ่านโครงการ “คนละครึ่ง”แต่ทำให้คน 70 ล้านคน มีภาระหนี้ของชาติ...ร่วมกันนี่ยังไม่นับรวมโครงการก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็น...โครงการแจกเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.6 ล้านคน และเบี้ยยังชีพคนชรา รวมกันอีกนับล้านคนใช้เงินช่วงที่ผ่านมาและช่วงที่กำลังจะผ่านไป รวมกันอีกหลายแสนล้านบาท...มองในมุมวิทยาศาสตร์ อิงบัญญัติไตรยางค์ ก็ต้องบอกว่า...สิ่งที่รัฐบาลเทเงินลงไปในรอบนี้ ทั้งก่อนหน้า ระหว่างทาง และหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นเทียบกับสิ่งที่ตามองเห็นแล้ว...มันไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย!คนเพียงหยิบมือเท่านั้น ที่ได้ประโยชน์ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ...ไม่เพียงไม่ได้อะไรจากมาตรการและโครงการของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา หากยังเสียประโยชน์จากการต้องมีภาระหนี้ร่วมกัน...ลึกกว่านั้น...เม็ดเงินที่รัฐบาลจ่ายออกไป พวกเขาจะหาทางเรียกกลับคืนมา ด้วยการวิธีขึ้นหรือขยายฐานภาษี แน่นอนว่า...คนไทยทั้งประเทศ ได้รับผลกระทบแน่ๆแต่ในเสียย่อมมีดีซ่อนอยู่...สิ่งที่รัฐบาลทำลงไป...ผ่านมาตรการและโครงการข้างต้น แม้ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และระหว่างทางมีการ “ชักเปอร์เซ็นต์” บ้างหรือไม่? สังคมไม่อาจตรวจสอบได้ทว่า...การไม่ทำอะไรลงไป กลับจะยิ่งซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของทุกฝ่ายมากกว่ามองด้วยใจกลาง และดวงตาที่เป็นธรรม...ไม่ว่าจะเพราะ “คิดเป็น” หรือ “ฟลุ๊ก” ก็ตาม....แต่สิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปนั้น ดันไปตรงกับข้อเสนอขององค์กรระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น...ธนาคารโลก หรือไอเอ็มเอฟ รวมถึงรัฐบาลของยักษ์ใหญ่ ทั้งฝั่งยุโรปและอเมริกาเห็นได้ว่า...จุดต่ำสุดของเศรษฐกิจไทย ผ่านพ้นมาตั้งแต่กลางปี 2563 และขณะนี้กำลังฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆไม่เพียง...กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศ และสภาพัฒน์ จะปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปี 2563 จากเดิมที่เคยให้ “ติดลบเยอะ” เหลือ “ติดลบน้อยลง”และทั้ง 3 หน่วยงานที่มีบทบาสำคัญในทางเศรษฐกิจระดับมหภาคของรัฐ ต่างเห็นตรงกันว่า...ปีหน้าและปีต่อๆ ไป เศรษฐกิจจะปรับตัวเป็นบวก ระดับจีดีพีโตไม่ต่ำกว่า 4% ขึ้นไปในปี 2564 และหากปัญหาไวรัสโควิด-19 ถูกขจัดโดยวัคซีน จนทำให้การท่องเที่ยวกลับมาเฟื่องฟู เรียกแขก “นักเที่ยวต่างชาติ” เข้าไทยได้เศรษฐกิจไทย...จะผงาดในระดับ “อู้ฟู่” กันทีเดียว!!!ทำดีต้องชม...ทำไม่ดีต้องด่าและหาทางออกให้กับรัฐบาล นั่นคือ...หน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดีสำหรับมาตรการและโครงการที่รัฐบาลทำมาอย่างต่อเนื่อง...ไม่ได้ดีและถูกต้องทั้งหมด แต่ถือว่า...มันเหมาะสมและจำเป็นจะต้องทำในสถานการณ์นี้สิ่งที่รัฐบาลควรบอกกับประชาชน คือ “ความคุ้มค่า” ที่รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณลงไปนั้น มันออกดอกออกผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่าง? ใครได้รับประโยชน์? แค่ไหน? อย่างไร?เทียบความคุ้มค่า...แยกออกมาให้เห็นในแต่ละโครงการและมาตรการที่ทำกันมาถ้าไม่มีการ “ชักเปอร์เซ็นต์” หรือเตะเงินจากโครงการและมาตรการไปเข้ากระเป๋า “เจ้าสัวรายใหญ่” แล้วล่ะก็..ง่ายๆ แค่นี้...คงทำได้ไม่ยากหรอกมั้ง?