จากปัญหา "หมูแพง" ที่ลากเอาสินค้าอื่นๆ พาเหรดขึ้นตามที่พอสืบสาวราวเรื่องกันลงไปกลับต้องผงะ ขบวนการปกปิดข้อมูลโรคอหิวาห์ในหมู ASF เพื่อกินรวบตลาดนี้แถมกลไกรัฐ-กระทรวงพาณิชย์ จนป่านนี้ยังคลำทาง ”หาต้อตอหมูแพงกันไม่เจอ” ได้แต่งัดบทถนัดถลุงงบฯ จัดร้านธงฟ้า-รถพุ่มพวง "ขายผ้าเอาหน้ารอด" กันอีกขณะที่กรณีการควบรวมกิจการค้าปลีก-ค้าส่ง ของกลุ่มทุนยักษ์ที่แทบจะกินรวบตลาดค้าปลีก ค้าส่งของประเทศครบวงจร ที่ "คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.)" ไฟเขียวไปก่อนหน้า หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้จะทำให้บริษัทมี "อำนาจเหนือตลาด" แต่ก็ไม่เป็นการผูกขาดตลาด และจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยทั่วไปนั้นวันนี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว กลไกของรัฐที่กำกับดูแลเรื่องนี้ "มีก็เหมือนไม่มี" ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งที่กลุ่มทุนยักษ์ รายนี้มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหงของประเทศ หาได้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทย และแม้ว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะใช้ร้านธงฟ้าหรือรถพุ่มพวงออกมาเป็นกลไก เพื่อหวังจะสร้างสมดุลเป็นทางเลือกให้กับประชาชน แต่ก็ไม่อาจจะต่อกรใดๆ กับเครือข่ายธุรกิจ ของกลุ่มทุนยักษ์รายนี้ได้เลย มาถึงนโยบาย "อีซี้-อีซี่" อีอีซี ที่ สกพอ. และรถไฟฯ ที่ก่อนหน้ากระเตงข้อเสนอให้เอกชนผู้รับสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ยืดจ่าย "ค่าต๋ง" แอร์พอร์ตลิงค์-แก้สัญญากับซีพี ไปตั้งแต่ปีมะโว้ ด้วยข้ออ้างเยียวยาผลกระทบโควิดทั้งที่ยังไม่ได้เข้าไปบริหารเดินรถสักกระผีก!มาวันนี้เพิ่งถึงบางอ้อ ไอ้ที่ดำเนินการไปแหก กม.ร่วมลงทุนฯ พีพีพี เพราะต้องนำเสนอ กก.กำกับดูแลตาม ม.43 ก่อน จนต้องวิ่งพล่านจัดประชุม กก.กำกับดูแลตามมาตรา 43 เพื่ออนุมัติย้อนหลังกันในวันนี้ (19 มค.) แต่ที่เล่นใหญ่ได้ใจสุดๆ ไม่รู้เพราะ "ได้ใจ" หรือ "มั่นใจ" สุดๆก็คือ บิ๊ก มท.-มหาดไทย-กับอดีตบิ๊กประปา กปภ. ที่อนุมัติต่อสัญญาสัมปทานผลิตและจำหน่ายประปาปทุมธานี-รังสิต กับบริษัท ในเครือ "ช.กันชวด" 20 ปีรวด..ทั้งที่สัญญาเดิมจะสิ้นสุดลงในปีหน้า 2566 เครื่องมือและทรัพย์สินในโครงการต้องตกมาเป็นของรัฐ คือ กปภ. ที่มีนโยบายจะขอโม่แป้งเอง ให้บริการเองแต่จู่ๆ กลับมีใบสั่งจากใครก็ไม่รู้ล้วงลูก ล้วงตับปาดหน้าเค้กให้ กปภ. พิจารณาต่อสัญญาสัมปทานกับเอกชนรายเดิม 20 ปี แถมยังมั่วตุ้มอ้างเป็นการดำเนินการที่สอดคล้อง ประกาศคณะกรรมการนโนบายร่วมลงทุน สอดคล้องบทบัญญัติ กม.พรบ.ร่วมลงทุนมาตรา 46-47 และ 48ทั้งที่ มาตรา 49 ของ กม.ฉบับเดียวกันเขียนเอาไว้โทนโท่....หากกระทรวงเจ้าสังกัด (มท.) มีนโนบายกำหนดจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนต่อไปในลักษณะเดิม หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องกลับไปดำเนินการเสมือนเป็นการดำเนินโครงการใหม่เท่านั้นเป็นบทสะท้อนรัฐบาลเอื้อนายทุนหรือไม่ สาธุชนที่มีมันสมองเกิน 84,000 หยัก ลองไปคิดดูกันเอาเอง!หากพวกเรายังไม่คิดจะแหกปาก อยากจะเอามือ "ซุกหีบ" กันต่อไป ก็เตรียมรับชะตากรรมค่าน้ำ ค่าไฟ แพงบรรลัยกัลป์ต่อไปถึงชั่วลูกขั่วหลานโน่นแหล่ะส่วนที่นั่งหน้าสลอนใน ครม.ชุดนี้ ยังไงก็ไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว เพราะอยู่บ้านหลวง ใช้น้ำ-ไฟฟรี แถมอีกไม่กี่ปี ก็บอกลากันไปหมดแล้ว!!!