ได้มีโอกาสหาข้อมูล รับฟัง รับรู้ เรื่องฮือฮาสนั่นวงการตลาดเงิน ตลาดทุน ที่ทำให้ธนาคารกลางของทั้งโลก กระทรวงการคลัง และธนาคารพาณิชย์ หนาวร้อนกันไปตามกัน..การประกาศของเฟซบุ๊ค ที่จะเปิดกว้าง ทำสกุลเงินดิจิทัลชนิดใหม่ในโลก ชือว่า “ลิบรา” และจะเริ่มอวดโฉมให้ชาวโลกหนาว ๆ ร้อน ๆ กันในปีหน้าเนื่องจากข้อมูลที่ประกาศมาครั้งแรกเป็นเพียงการบอกเล่าเรื่องราวและแนวคิดในการจัดทำเงินสกุลนี้ เพราะต้องการให้โลกการเงินไร้พรมแดน และทำให้คนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินที่มีอยู่ไม่น้อยกว่า 1500 ล้านคนในโลก สามารถเข้าถึงด้วยการใช้การสื่อสารผ่านโมบายแบงก์กิ้ง และผ่าน เฟซบุ๊ค“Libra ก้าวที่กล้าของเฟซบุ๊ก: ก้าวสู่โลกใหม่ไร้พรมแดน” ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้เห็นหลายมุมมองของประโยชน์และอุปสรรค และโอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับ และผลกระทบต่อระบบการเงินของไทย วงการธนาคาร ผู้เชี่ยวชาญที่ตั้งวงสนทนากัน ประกอบด้วย ดร.ภูมิ ภูมิรัตน ที่ปรึกษา ก.ล.ต. ดร.ณรัณ โพธิ์ พัฒนชัย นักกฎหมายกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดร. สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์ นิติกรชำนาญการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการกรุงศรีคอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัล แบงก์และนวัตกรรม นายจิรายสุ ทรัพยศรีโสภา ผู้ร่วมก่อตั้งและกรุ๊ปซีอีโอ บริษัท บิทแคปปิตอลกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ และนางสาวพราว ลิ่มพงศ์พันธ์ เจ้าหน้าที่บริหารเชิงกลยุทธ์ บริษัท Zipmex Asiaทุกคนต่างเห็นตรงกันว่า “ลิบรา ไม่ใช่เงิน ไม่เข้าอยู่ใน พ.ร.บ.เงินตรา ยังไม่เห็นแนวทางในการกำกับดูแล แต่จะเข้ามามีผลกระทบกับการทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ที่ยังมีต้นทุนในการโอนเงินสูงมาก และเป็นการเปิดทางให้มีการใช้คริปโตเคอร์เรนซี่ได้แพร่หลายยิ่งขึ้น เพราะเฟซบุ๊คมีจำนวนผู้ใช้บริการมากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก แค่ในประเทศไทย 40 ล้านคนจาก 70 ล้านคน ก็ใช้บริการเฟซบุ๊คในการติดต่อสื่อสาร”ภาพรวมของ ”ลิบรา” ที่ค่อยๆ เผยโฉมล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 เฟซบุ๊กและพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้ง หรือ(founding members ที่เป็นบริษัทชั้นนำของโลก 28 รายที่สนับสนุนให้เกิด เช่น วีซ่า มาสเตอร์การ์ด เพย์พาล อีเบย์และอูเบอร์ ได้เปิดตัวคริปโทเคอร์เรนซี ชื่อ “Libra” (ลิบรา) ที่จะเริ่มนำมาใช้ในปี 2563 เพื่อให้เป็นเงินดิจิทัลที่ใช้ได้แพร่หลายทั่วโลกที่เข้าถึงได้ง่ายรวดเร็ว และต้นทุนต่ำ โดยมีลักษณะเป็นสเตเบิล คอยน์ (stable coin) ที่มีมูลค่าตามสินทรัพย์หนุนหลัง ซึ่งจะทำให้มีความผันผวนน้อยกว่า คริปโตเคอร์เรนซี่สกุลอื่น ๆนอกจากนั้น เฟซบุ๊กและพันธมิตรได้จัดตั้งสมาคมลิบราในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ไม่แสดงหาผลกำไร เพื่อขับเคลื่อนและดูประเด็นที่เกี่ยวกับลิบรา เช่นระบบ บล็อกเชน และการบริหารจัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง โดยเฟซบุ๊คตั้งใจจะหาพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งประมาณ 100 รายมาร่วมลงทุน รายละ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐออกและเสนอขาย Libra Investment Token (ซึ่งไม่ใช่เหรียญเดียวกับลิบรา) คริปโทเคอร์เรนซี ที่จะออกมาเป็นกลไกเพื่อการชำระเงินรวมถึงเฟซบุ๊คจะจัดตั้งบริษัทชื่อ Calibra เพื่อเป็นผู้ให้บริการ wallet สำหรับผู้ที่จะใช้ลิบราด้วย ในแง่การกำกับดูแลในขณะนี้ยังไม่เห็นความชัดเจน แต่ทุกประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ก็เตรียมรับมือการกำเนิดของคริปโตเคอร์เรนซี่ ตระกูลนี้แล้ว แทบจะต้องพลิกตำรากันเลยทีเดียว เพราะหากมีการโอนย้ายเงินกันอย่างเสรี ผลกระทบจะตกอยู่กับเศรษฐกิจโดยรวม เงินเฟ้อ จะคุมไม่ได้ และธนาคารพาณิชย์จะต้องสูญเสียรายได้จากธุรกิจการให้บริการ เพราะลิบราให้ความสะดวกในการโอนเงินระหว่างลูกค้าต่อลูกค้า ลูกค้าต่อองค์กร บุคคลต่อบุคคล นอกเหนือจากการให้บริการพร้อมเพย์ของคนไทย เพราะลิบรา เป็นการโอนเงินระหว่างประเทศและจะกลายเป็นว่า สิ่งที่เฟซบุ๊คได้คือข้อมูลหรือดาต้า ที่ใหญ่มหึมา ซึ่งดาต้าเหล่านี้ถือเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด และสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนานวัตกรรมอื่นๆ ได้อีกมากมายในฐานะที่ประเทศไทย ใช้บริการเฟซบุ๊คมากเป็นอันดับ 3 ของโลก จึงน่าจะต้องมีข้อต่อรองกับเฟซบุ๊ค ในการตั้งกฎกติกากำกับดูแลให้เข้มงวด ไม่ควรปิดกั้น แต่จะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดลึกซึ้ง และต่อรองให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยมากที่สุด เพราะการโอนย้ายเงินโดยไม่มีการตรวจสอบ อาจก่อให้เกิดมิจฉาชีพนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นโอนเงินจากการซื้อขายยาเสพติดข้ามประเทศ ค้าแรงงานเด็กหรือสตรี ประชาชนผู้ใช้บริการ ก็ต้องระมัดระวังในการหลอกลวงการเข้าไปลงทุนหรือซื้อขายเงินสกุลนี้และก็ไม่แน่ว่า นอกจากเฟซบุ๊ค ที่เปิดให้บริการนี้แล้ว ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น อาลีบาบา ฯลฯ ก็น่าจะเห็นหนทางนี้เช่นกันที่สำคัญ ไทย ควรจะต้องวางบทบาทของเราให้ดี จับจังหวะให้ถูกต้อง เอาปริมาณการใช้เฟซบุ๊คของไทย มาเป็นตัวต่อรอง น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องรีบทำ!โดย..คนข้างนอก