ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์หลังลงพื้นที่เกาะติดโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ว่า ท่าเรือแหลมฉบัง คือส่วนสำคัญของ Ecosystem ที่จะยกระดับไทยเป็น Logistics Hub ของภูมิภาค ทั้งทางทะเล และทางอากาศ
โดยรัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC เพื่อดึงเงินลงทุนจากทั่วโลก การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และการยกระดับศักยภาพท่าเรือให้สามารถรองรับการนำเข้าและส่งออกรับสินค้าอุตสาหกรรมหนัก พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟขนส่งสินค้าเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการโดยด่วน และภายใน มิ.ย. 69 เราจะต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาพัฒนาท่าเรือให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้
นอกจากนี้ ผมได้เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวของให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Shift Mode) จากทางถนน สู่ทางราง และทางน้ำ เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ พร้อมทั้งให้ส่งเสริมการใช้ท่าเทียบเรือชายฝั่งที่แหลมฉบังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำของประเทศด้วย ทั้งนี้ การดำเนินการทุกอย่างที่ว่ามาจะต้องคำนึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วยครับ
อนึ่ง.. ท่าเรือแหลมฉบังในปัจจุบันมีความสามารถในการรองรับตู้สินค้าประมาณ 11 ล้านตู้ต่อปี และรองรับรถยนต์ได้ 2 ล้านคันต่อปี
ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 จะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าจาก 11 ล้านตู้ต่อปี เป็น 18 ล้านตู้ต่อปี และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับรถยนต์จาก 2 ล้านคันต่อปี เป็น 3 ล้านคันต่อปี
โดยมีการติดตั้งระบบจัดการตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ (Automation) เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเป็น 30% พัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีน (Hub Port) และประตูการค้าที่สำคัญของภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง (Gateway Port) พร้อมก้าวขึ้นเป็นท่าเรือระดับโลก (World-Class Port)
การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 บนพื้นที่ขนาด 1,600 ไร่ ประกอบไปด้วย
ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 7 ท่า สามารถรองรับตู้สินค้าได้ไม่ต่ำกว่า 7 ล้านตู้ต่อปี
ท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro) 1 ท่า สามารถรองรับรถยนต์ได้ 1 ล้านคันต่อปี
ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปและตู้สินค้า 1 ท่า
การอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการท่าเรือด้วยระบบ e-Port ผ่านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบด้วยการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม โดยเน้นการขนส่งระบบราง เพื่อเอื้อต่อธุรกิจภาคโลจิสติกส์
คาดว่าตามแผนเดิมจะเปิดดำเนินการภายใน ปี พ.ศ. 2568 (ล่าสุดหลังนายกฯลงพื้นที่คาดจะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2569) มีแผนการก่อสร้างแบ่งออกเป็น โครงสร้างพื้นฐาน 5 ปี
และการก่อสร้างท่าเทียบเรือ
และติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่าย 3 ปี
อย่างไรก็ตาม ผู้ชนะโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3ระยะที่ 1 ท่าเทียบเรือ F คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT , บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) หรือ GULF และ บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จากประเทศจีน ผู้ชนะประมูลรับสัมปทาน