รูปแบบการเริ่ม ”ธุรกิจสตาร์ทอัพ” ส่วนมากจะมาจากความต้องการแก้ปัญหา (Pain Point) ของคนส่วนใหญ่ ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยโมเดลแก้ปัญหาต้องสามารถ ”ทำซ้ำโตแบบก้าวกระโดดได้”หลังจากขยายตัวมาระยะหนึ่ง การจะกระตุ้นให้ยังมีนวัตกรรมใหม่ออกมาต่อเนื่อง อาจต้องใช้วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งมาขับเคลื่อน อย่าง ”กูเกิล” ยักษ์บริการค้นหาข้อมูลหรือเสิร์ชเอ็นจิ้นระดับโลก ซึ่งมีระบบสร้างบริการใหม่ ที่กูเกิลเชื่อว่าผู้ประกอบการรายเล็กก็สามารถนำไปปรับใช้สร้างธุรกิจของตนเองได้ทั้งนี้ ยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้นกูเกิล ได้กำหนดพันธกิจบริษัทไว้คือ “การจัดระเบียบข้อมูลทั้งหมดในโลก โดยต้องให้มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้” ซึ่งผู้ก่อตั้ง “แลร์รี เพจ กับ เซอร์เกย์“ ภูมิใจว่า แพลตฟอร์มจัดระบบข้อมูล ไม่เพียงใช้ค้นหาความรู้ได้ทั่วโลก แต่ยังทำประโยชน์ด้านอื่น เช่นช่วยชีวิตจากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพการรักษาพยาบาล เป็นช่องทางช่วยสร้างอาชีพให้หลายคนด้วยวัฒนธรรมองค์กร 3 ด้าน คือ..”พันธกิจ ความโปร่งใส และการมีสิทธิมีเสียง” ทำให้กูเกิลมีการคิดนวัตกรรม เช่น การสร้างเว็บบอร์ด บริการค้นหารูปภาพ แอดเวิร์ดส์ บริการแปลภาษากว่า 150 ภาษารวมทั้งภาษาสัตว์ กูเกิลสตรีต กูเกิลแมพ กูเกิลเอิร์ธ โดยหลายโครงการใหม่อาจไม่เกิดขึ้น ถ้าใช้วัตถุประสงค์เริ่มโครงการเหมือนบริษัททั่วไปที่เป้าหมายคือ ต้องทำกำไร ต้องสำรวจความต้องการตลาด มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคุ้มค่า ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์ เพราะหลายโครงการลงทุนสูงมาก ในการทำพันธกิจจัดระเบียบข้อมูลและให้คนเข้าถึงใช้ประโยชน์ได้นอกจากนี้ รากฐานที่กูเกิลปฏิบัติต่อพนักงาน ให้เหมือนเป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งพร้อมจะเปิดทางให้แต่ละคนขึ้นมาเป็นผู้นำ เริ่มโครงการใหม่เหมือนเป็นเจ้าของกิจการ เพราะเจ้าของธุรกิจจะทำทุกอย่างเพื่อให้ทีมงานให้บริษัทประสบความสำเร็จ..แต่ถ้าปฏิบัติกับพนักงานเหมือนเป็นเครื่องจักร ต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ตามสั่ง เครื่องจักรก็จะทำเฉพาะงานของตนเอง โดยการจะหนุนให้พนักงานเหมือนเป็นผู้ก่อตั้งได้ สภาพแวดล้อมการทำงานต้องสนุก มีอิสระ ได้รับความไว้วางใจมีอำนาจตามหน้าที่ และรายได้เหมาะสมซึ่งกูเกิลยอมให้ใช้เวลา 20% ของเวลาทำงานไปทำกิจกรรมที่แต่ละคนสนใจได้ โดยสันทนาการบางอย่างเคยได้รับการพัฒนามาเป็นบริการใหม่ของกูเกิลด้วยเคล็ดลับในการบริหารงานดังกล่าว กูเกิลแนะนำว่า ผู้ประกอบการายเล็ก รวมถึงผู้อยากมีกิจการของตนเอง สามารถนำไปปรับใช้ได้ เพราะช่วงเริ่มตั้งบริษัท เงินเดือนของกูเกิลก็น้อยกว่าบริษัทอื่นในธุรกิจเดียวกัน แต่สามารถดึงคนเก่ง คนดี ที่มีแรงบันดาลใจมีความหลงใหล (Passion) เดียวกันมาร่วมงานได้ เพราะลึกๆ แล้วมนุษย์ทุกคนล้วนอยาก ค้นพบความหมายของงานที่ทำ เป็นการสร้างแรงจูงใจ เมื่อรู้ว่า..คุณกำลังเปลี่ยนแปลงโลก!ที่สำคัญเชิงปฎิบัติทำให้เคล็ดลับนั้นได้ผล อยู่ที่ให้พนักงานได้พบลูกค้า เพื่อเชื่อมโยงพนักงานทุกคนเข้ากับพันธกิจของบริษัทโดยตรง โดยในการทดลองแบ่งพนักงานเป็น 3 กลุ่ม คือ..กลุ่มเอ ทำงานตามกระบวนการปรกติ กลุ่มบี ได้อ่านรายงานจากพนักงานคนอื่น รายงานถึงประโยชน์ที่ได้รับจากงานที่ทำ และกลุ่มซี ได้อ่านทั้งรายงานถึงประโยชน์ที่งานนั้นสร้างขึ้น และได้เห็นผลของงานดังกล่าว ว่าสามารถช่วยเปลี่ยนชีวิตคนได้มากขนาดไหนสิ่งนี้จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดีที่สุดในการคิดนวัตกรรมใหม่ต่อเนื่อง ทำให้งานที่ทำอยู่สร้างความภาคภูมิใจได้มากกว่าความก้าวหน้าในหน้าที่การงานหรือรายได้เงินเดือนที่จะปรับขึ้น.. ตาม 10 กฎแห่งการทำงานของกูเกิล คือ.. 1. ทำให้งานมีความหมาย 2. ไว้ใจพนักงาน 3. รับเฉพาะคนที่เก่งกว่าดีกว่าคุณ 4. อย่าสับสนระหว่างการพัฒนากับการบริหารผลการทำงาน 5. ให้ความสำคัญกับทั้งสองขั้วกระตุ้นพนักงานพัฒนาตัวเอง 6. จงประหยัดและใจกว้าง 7. ให้ผลตอบแทนแบบไม่เป็นธรรม ให้รางวัลกับความล้มเหลวที่น่าชื่นชม 8. สะกิดแต่อย่าผลักดัน 9. จัดการกับความคาดหวังที่เพิ่ม และ 10. สนุกกับมันนี่จึงเป็นอีกหนึ่งในหลายวิธี หาแรงบันดาลใจหาไอเดียในการเริ่มธุรกิจใหม่และมีความอดทนในการบ่มเพาะให้กิจการเติบโตที่มากว่ารายได้ แต่เป็นความภาคภูมิใจที่มีคุณค่าต่อคนอื่น โดยอาจไม่ได้ดูจากเพนพอยท์ปัญหาที่เจอ ทว่าไปดูที่ผลลัพธ์ แล้วย้อนกลับมาเป็นธุรกิจเปลี่ยนโลก!โดย-คนฝั่งธนฯ