ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ม.ค.68 นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจติดตามการส่งออกทุเรียนปลอดสาร Basic Yellow 2 และแคดเมียม ณ ด่านพรมแดนนครพนม ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม พร้อมหารือแนวทางการส่งออกทุเรียนไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ด่านตรวจพืชนครพนม ว่า ตามที่ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเร่งด่วนให้ขับเคลื่อน “นโยบายผลไม้ปลอดภัย มีคุณภาพ สำหรับการบริโภคในประเทศและส่งออก” จึงได้มอบหมายให้ตนติดตามแก้ไขปัญหาสาร Basic Yellow 2 ปนเปื้อนในทุเรียนผลสดส่งออกไปจีน ซึ่งวันนี้ถือเป็นข่าวดีที่สามารถปลดล็อคทุเรียนไทยส่งออกไปจีนได้แล้ว โดยได้รับรายงานจากกรมวิชาการเกษตรว่า ในวันที่ 20-21 ม.ค. 2568 จะมีการส่งออกทุเรียนทางบก 6 ชิปเม้นท์ ปริมาณ 96 ตัน มูลค่าประมาณ 7.8 ล้านบาท คือทางด่านตรวจพืชนครพนม จำนวน 3 ชิปเมนท์ และทางด่านตรวจพืชเชียงของ จำนวน 3 ชิปเมนท์ โดยในทุกชิปเมนท์ได้รับการรับรองรายงานผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการแล้ว
รมช.อิทธิ เผยว่า กระทรวงเกษตรฯ มุ่งมั่นสร้างความมั่นใจในทุเรียนไทย ให้กับประเทศคู่ค้า และเร่งรัดกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และเกษตรกรไทย ขอย้ำว่าสินค้าทุกชนิดต้อง set zero ปลอดสารปนเปื้อน หากฝ่าฝืนมาตรการจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด เนื่องจากเป็นการทำลายชื่อเสียงประเทศไทย
“ผมขอยืนยันว่า กระทรวงเกษตรฯ ไม่นิ่งนอนใจภายหลังจากจีนมีมาตรการเข้มงวดตรวจสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนทุกล็อต เราได้มีการประชุมติดตามเร่งรัดเพื่อให้สามารถส่งออกทุเรียนได้โดยเร็วที่สุด โดยวางแผนไว้จะสามารถส่งออกได้ภายในวันที่ 20 ม.ค. ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ ขอชื่นชมอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานได้ไว เพื่อมุ่งมั่นให้ทุเรียนไทยเป็นทุเรียนอันดับ 1 ของโลก” รมช.อิทธิ กล่าวย้ำ
ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีมาตรการเข้มงวดในการนำเข้าทุเรียน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2568 โดยต้องตรวจสอบสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนและแนบรายงานผลการทดสอบในทุเรียนทุกล๊อตการผลิตที่ส่งออกจากไทย ซึ่งล่าสุด ได้รับรายงานจากกรมวิชาการเกษตรว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 ว่า ทางสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ได้อนุญาตให้ใช้ห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถในการทดสอบสาร Basic yellow 2 จำนวน 6 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพในการตรวจวิเคราะห์ รวมกันได้ 700 ตัวอย่าง/วัน โดยการตรวจวิเคราะห์จะใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ดังนี้…
1. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่ 2. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขากรุงเทพฯ 3. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาฉะเชิงเทรา 4. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสมุทรสาคร 5. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสงขลา 6. บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) AMARC ด้าน นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบ Basic yellow 2 แล้วตั้งแต่ค่ำวันที่ 17 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมาจนได้ผล Test Report ที่ใช้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปจีนตามเงื่อนไขที่จีนกำหนด โดยได้เริ่มเก็บตัวอย่างภายหลังจากการแจ้งการอนุญาตให้ห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถทั้ง 6 แห่ง ที่ได้รับการอนุญาตจาก GACC เข้าเก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 20 - 21 ม.ค. 2568 รวมจำนวน 11 ล้ง 13 ชิปเมนท์ ปริมาณ 155.5 ตัน มูลค่ากว่า 11 ล้านบาท จากตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี 5 ล้ง 7 ชิปเมนท์ ปริมาณ 58.5 ตัน มูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท และตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดชุมพร 6 ล้ง 6 ชิปเมนท์ ปริมาณ 97 ตัน มูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท
“การส่งออกทุเรียนผ่านด่านตรวจพืชนครพนม ในวันที่ 20 ม.ค. 2568 ได้กำชับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรให้ตรวจสอบใบรายงานผลการทดสอบ Basic yellow 2 ในเนื้อและเปลือก ต้องตรวจไม่พบหรือ Not Detected และ Cadmium ในเนื้อ (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 0.05mg/kg) จึงจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช PC เพื่อแสดงที่ด่านนำเข้าของประเทศจีน ผมย้ำเตือนขอให้ผู้ประกอบการส่งออกมาตรการเข้มงวด 4 ไม่ ได้แก่ 1.ไม่อ่อน 2.ไม่หนอน 3.ไม่มีสวมสิทธิ์ และ 4.ไม่สี ไม่มีสารเคมีต้องห้าม มีเป้าหมาย “Set Zero” การใช้สารเคมีในโรงคัดบรรจุทั้งหมด เพื่อรักษาตลาดทุเรียนไทยที่ส่งออกไปจีน ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาทและอีกหลายแสนล้านให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
นอกจากนี้ ในสัปดาห์หน้าจะมีห้องปฏิบัติการ เพิ่มอีก 4 แห่ง ทำให้สามารถรองรับตัวอย่างการตรวจวิเคราะห์รวมได้ 1,300 ตัวอย่าง/วัน ซึ่งมีศักยภาพรองรับการส่งออกทุเรียนภาคตะวันออกและภาคใต้ในฤดูกาลที่จะถึงนี้ ได้เป็นอย่างดี
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบ Basic yellow 2 แล้วตั้งแต่ค่ำวันที่ 17 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมาจนได้ผล Test Report ที่ใช้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปจีนตามเงื่อนไขที่จีนกำหนด โดยได้เริ่มเก็บตัวอย่างภายหลังจากการแจ้งการอนุญาตให้ห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถทั้ง 6 แห่ง ที่ได้รับการอนุญาตจาก GACC เข้าเก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 20 - 21 ม.ค. 2568 รวมจำนวน 11 ล้ง 13 ชิปเมนท์ ปริมาณ 155.5 ตัน มูลค่ากว่า 11 ล้านบาท จากตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี 5 ล้ง 7 ชิปเมนท์ ปริมาณ 58.5 ตัน มูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท และตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดชุมพร 6 ล้ง 6 ชิปเมนท์ ปริมาณ 97 ตัน มูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท
“การส่งออกทุเรียนผ่านด่านตรวจพืชนครพนม ในวันที่ 20 ม.ค. 2568 ได้กำชับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรให้ตรวจสอบใบรายงานผลการทดสอบ Basic yellow 2 ในเนื้อและเปลือก ต้องตรวจไม่พบหรือ Not Detected และ Cadmium ในเนื้อ (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 0.05mg/kg) จึงจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช PC เพื่อแสดงที่ด่านนำเข้าของประเทศจีน ผมย้ำเตือนขอให้ผู้ประกอบการส่งออกมาตรการเข้มงวด 4 ไม่ ได้แก่ 1.ไม่อ่อน 2.ไม่หนอน 3.ไม่มีสวมสิทธิ์ และ 4.ไม่สี ไม่มีสารเคมีต้องห้าม มีเป้าหมาย “Set Zero” การใช้สารเคมีในโรงคัดบรรจุทั้งหมด เพื่อรักษาตลาดทุเรียนไทยที่ส่งออกไปจีน ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาทและอีกหลายแสนล้านให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว