"แม้ในที่สุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะ "ปิดช่องโหว่" มิให้หน่วยงานของรัฐปฏิเสธการเข้าร่วม “ข้อตกลงคุณธรรม” ได้อีก แต่มติ ครม. นี้ได้ "สร้างปัญหาใหม่" ที่น่ากลัวกว่า เพราะเปิดโอกาสให้หน่วยงานเป็นผู้กำหนดกติกาเอง ทำรายงาน และตรวจสอบกันเองได้ คัดเลือกผู้สังเกตการณ์เองได้ ซึ่งผิดเพี้ยนไปมากจากหลักสากล และมาตรฐานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ....."ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้โพสต์ FB ถึงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องนำโครงการเข้าลงนามในข้อตกลงคุณธรรม โดยให้ขยายรวมไปถึงโครงการตามกฏหมายอื่น เช่น พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ด้วยอย่างไรก็ตาม แม้ ครม. จะ "ปิดช่องโหว่" มิให้หน่วยงานของรัฐปฏิเสธการเข้าร่วม “ข้อตกลงคุณธรรม” ได้อีก แต่มติ ครม.นี้ได้ "สร้างปัญหาใหม่" ที่น่ากลัวกว่า เพราะเปิดโอกาสให้หน่วยงานเป็นผู้กำหนดกติกาเอง ทำรายงาน และตรวจสอบกันเองได้ คัดเลือกผู้สังเกตการณ์เองได้ ซึ่งผิดเพี้ยนไปมากจากหลักสากล และมาตรฐานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เลขาธิการ ACT ระบุว่า กว่า 6 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ข้อตกลงคุณธรรมใน 128 โครงการ มูลค่ารวม 1.9 ล้านล้านบาท ขณะที่รัฐวิสาหกิจและหน่วยราชการหลายแห่งปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการข้อตกลงคุณธรรมหรือเข้าร่วมระยะสั้นๆ แล้วถอนตัวออกไป โดยอ้างกฎหมายเฉพาะ คือ 1) พ.ร.บ. อีอีซี 2) พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ (พีพีพี) 3) พ.ร.บ.รักษาความสะอาดของ กทม. 4) ข้ออ้างอื่น เช่น การประมูลให้สัมปทานแก่เอกชนเป็นการ “หารายได้” ไม่ใช่การจัดซื้อฯ โครงการนั้นเขียนทีโออาร์เสร็จก่อนแล้ว เป็นการซื้อสินค้าเพื่อการพาณิชย์ของรัฐวิสาหกิจ การซื้อที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น "ทุกหน่วยงานต่างรู้ดีว่า การสร้างความโปร่งใสให้ประชาชนตรวจสอบเพื่อปกป้องประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้และที่ผ่านมาก็มีเมกะโปรเจคจำนวนมากที่อยู่ในเงื่อนไขข้ออ้างดังกล่าวแต่ก็เข้าร่วมและประสบผลสำเร็จด้วยดี"เพื่อแก้ไขปัญหานี้ คณะกรรมการนโยบายจัดซื้อจัดจ้างฯ จึงมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของผู้แทนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ให้เสนอเรื่องต่อ ครม. เพื่อใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดเป็นนโยบายของรัฐปิดช่องว่างดังกล่าวเสียจะเป็นปัญหาใหม่อย่างไร?อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก มติ ครม. เมื่อ 29 มิถุนายน 2564 เปิดให้แต่ละหน่วยงานที่ต้องใช้ข้อตกลงคุณธรรมตามเงื่อนไขเพิ่มเติมนี้ “เป็นผู้กำหนดเอง” ว่าจะใช้กติกา รูปแบบแนวทางปฏิบัติ การเปิดเผยข้อมูล วิธีตรวจสอบรายงาน ไปจนถึงคัดเลือกบุคคลที่จะมาเป็นผู้สังเกตการณ์ แทนที่ให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้กำกับดูแล และใช้กติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับแล้วตาม พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ เหมือนที่ผ่านมาปัญหาที่จะตามมาคือ เกิดแนวทางปฏิบัติหลายมาตรฐาน ความไม่โปร่งใส ยากต่อการติดตามตรวจสอบให้ทั่วถึง การยอมรับจากสังคม เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนจากการที่แต่ละหน่วยงานนั้นชงเองกินเอง คือเป็นทั้งผู้ใช้อำนาจ ใช้งบประมาณ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้กำหนดกติกา กำกับและตรวจสอบกันเอง หากเป็นเช่นนี้ข้อตกลงคุณธรรมจะเป็นเพียงตรายางที่ไร้ค่าไร้คนเชื่อถืออีกต่อไป"วิธีดังกล่าว จึงเป็นเรื่องยอมรับไม่ได้เพราะขัดต่อหลักธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติสากล ขัดต่อเจตนารมย์ของ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ และแผนปฏิรูปประเทศฯ"ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยเหตุนี้ ACT จึงมี ข้อเสนอให้ ครม. มีมติเพิ่มเติม ดังนี้1) ให้การใช้ข้อตกลงคุณธรรมทุกกรณีต้องปฏิบัติตามมติ ประกาศและคำสั่งของคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คปท.) กรมบัญชีกลาง 2) ให้มติ ครม. นี้ ใช้กับทุกหน่วยงานที่ดำเนินการจัดซื้อฯ หรือร่วมลงทุนหรือให้สิทธิ์/สัมปทานหรืออย่างอื่นที่มีลักษณะและเป้าหมายทำนองนี้ ตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐฯ หรือกฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนฯ พ.ร.บ. รักษาความสะอาดฯ พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกฯ