ศาลปกครองกลางรื้อคดี “ค่าโง่โฮปเวลล์” ใหม่ ก่อนมีคำาพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟ ชดใช้ค่าเสียหายแก่โฮปเวลล์กว่า 25,000 ล้าน เหตุบริษัท การใช้สิทธิเรียกร้องหลังคดีขาดอายุความ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำาพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 107/2552, 2038/2551, 1379/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 366 - 368/2557 ระหว่าง กระทรวงคมนาคม ผู้ร้องที่ 1 การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ร้องที่ 2 กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้านคดีสืบเนื่องมาจากศาลปกครองสูงสุดมีค าสั่งที่ 81 - 83/2565 ประชุมใหญ่ ให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำขอพิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้องทั้งสองไว้พิจารณา และให้พิจารณาค าขอให้ศาลมีค าสั่งงดการบังคับคดีของผู้ร้องทั้งสองต่อไป
ศาลปกครองกลาง เห็นว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ทำสัญญาลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 กับผู้คัดค้าน (โฮปเวลล์) ตามสัญญาสัมปทานระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในกรุงเทพมหานครและการใช้ประโยชน์จากที่ดินของผู้ร้องที่ 2 มีกำหนดเวลาสามสิบปีนับแต่สัญญามีผลบังคับ สัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
หลังจากการลงนามสัญญาการก่อสร้างมีความล่าช้ามาก ผู้ร้องทั้งสองเห็นว่า โครงการไม่อาจแล้วเสร็จตามสัญญา จึงมีหนังสือลงวันที่ 27 มกราคม 2541 บอกเลิกสัญญากับผู้คัดค้าน (โฮปเวลล์) โดยผู้คัดค้านได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 ซึ่งในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการต้องยื่นภายในอายุความตามกฎหมาย เมื่อสัญญาสัมปทานดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 การเสนอข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต่อคณะอนุญาโตตุลาการจึงต้องเสนอภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 ผู้คัดค้านจึงต้องเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ผู้คัดค้านไม่ได้เสนอข้อพิพาทดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ในระหว่างนั้นมีการตรา พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาใช้บังคับแทน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 โดยมิได้กำหนดเวลาในการเสนอข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองเอาไว้ จึงต้องเป็นไปตามระยะเวลาการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง การที่ผู้คัดค้านนำข้อพิพาทตามสัญญามายื่นต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 จึงเกินกว่ากำหนดระยะเวลาหนึ่งปีตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการพิจารณาข้อพิพาท คณะอนุญาโตตุลาการได้มีการตรา พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกความในมาตรา 51 เดิม และบัญญัติให้การฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ต้องยื่นฟ้องภายในห้าปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายวิธีบัญญัติที่มีผลใช้บังคับกับคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาทันที ทำให้ระยะเวลาการฟ้องคดีเปลี่ยนเป็นภายในห้าปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ส่งผลห้ระยะเวลาการยื่นข้อพิพาทต่อขยายเป็นภายในห้าปี แต่กระนั้นการที่ผู้คัดค้านได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 จึงมีสิทธิที่จะเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการได้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 30 มกราคม 2546 แต่ผู้คัดค้านยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 จึงพ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการเสนอข้อพิพาทอยู่ดี ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงขาดอายุความตามกฎหมาย
และโดยที่ปัญหาเรื่องอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องเป็นบทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในการพิพากษาคดีศาลปกครองสามารถยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาได้ตามข้อ 92 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 การที่คณะอนุญาโตตุลาการรับข้อพิพาทที่ผู้คัดค้านยื่นพ้นเวลาไว้พิจารณาและมีคำชี้ขาดข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 กันยายน 2551 จึงเป็นกรณีที่การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลปกครองจึงมีอำนาจเพิกถอนและปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ ตามมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข)และมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
ส่วนกรณีที่ผู้ร้องทั้งสอง (กระทรวงคมนาคม และการรถไฟ) ที่รู้ถึงเหตุแห่งการเสนอข้อพิพาทตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่มีหนังสือบอกเลิกสัญญา และครบกำหนดห้าปีในวันที่ 27มกราคม 2546 แต่กลับยื่นข้อเรียกร้องแย้งต่อคณะอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 เพื่อขอให้มีคำชี้ขาด และบังคับให้ผู้คัดค้าน (โฮปเวลล์) ชำระค่าเสียหายตามข้อพิพาทหมายเลขดำ ที่ 44/2550 ข้อพิพาทหมายเลขแดง ที่ 70/2551 นั้น ก็ถือเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายที่ศาลปกครองมีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดเช่นกัน
ศาลปกครองกลางจึงพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 กันยายน 2551 ทั้งหมด และเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 44/2550 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 70/2551 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551 ทั้งหมด และมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30กันยายน 2551 กับให้คำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 221 - 223/2562 ไว้ในระหว่างพิจารณาคดีใหม่มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เชื่อแน่ว่าในส่วนของโฮปเวลล์คงจะมีการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาข้างต้นต่อศาลปกครองสูงสุดตามมา ขณะที่วงเงินชดเชยตามตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดก่อนหน้านั้น ทะลุ 27,000 ล้านบาทแล้ว