มูลนิธิชีววิถี หรือ BIOTHAI ยังคงเดินหร้าขุดคุ้ยต้นตอการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำที่กำลังทำลายอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทยอย่างหนักในขณะนี้ โดยที่ยังไม่สามารถจับมือใครดมได้
…
โดยล่าสุด BIOTHAI ได้เปิดเผยรายชื่อกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง ประกอบด้วย..
1. อธิบดีกรมประมง ประธานกรรมการ
2. รองอธิบดีที่ได้รับมอบหมาย รองประธานกรรมการ
3. ที่ปรึกษากรมประมงด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรรมการ
4. ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านการประมงน้ำจืด กรรมการ
5. ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยา กรรมการ
6. ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานสัตว์น้ำจืด กรรมการ
7. ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรรมการ
8. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรรมการ
9. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรรมการ
10. ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำสวยงาม กรรมการ
11. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรรมการ
12. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรรมการ
13. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรรมการ
14. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรรมการ
15. ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรรมการ
16. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรรมการ
17. ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรรมการ
18. ผู้อำนวยการกองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กรรมการ
19. ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
20. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรรมการและเลขานุการ
21. หัวหน้ากลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์น้ำจืด กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
22. หัวหน้ากลุ่มกำหนดมาตรการด้านการประมง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ
23. หัวหน้ากลุ่มวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
24. หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ
25. หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบและรับรองแหล่งประมง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
26. หัวหน้ากลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต
ส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ระบุเอาไว้ว่า…
1. นำเสนอนโยบาย และการดำเนินงานของกรมประมงให้สอดคล้องกับหลักการและวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ พิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
2. พิจารณาและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาอนุญาตนำเข้า ส่งออก นำผ่าน เพาะเลี้ยง หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำและพันธุ์ไม้น้ำมีชีวิต ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รวมถึงสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม
3. ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน เร่งรัด ติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแนวทางและนโยบาย มาตรการหรือแผนงานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ กำกับดูแลแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในการวิจัยของกรมประมง ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมของสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำที่มีชีวิต ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organism หรือ LMO)
4. พิจารณาเสนอความเห็นต่อกรมประมงเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามบทบัญญัติในกรอบงานแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ
5. ประสานงานกับหน่วยงานหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าสิ่งมีชีวิตในการติดตาม ตรวจสอบและให้คำแนะนำ หรือแก้ไขปัญหาเมื่อมีการนำเข้าสัตว์น้ำและพันธุ์ไม้น้ำประเภทที่เป็นอันตราย หรือสงสัยว่าจะเป็นอันตราย
6. ให้คำแนะนำในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม โดยกระบวนการเข้าถึงจะต้องอยู่ภายใต้ความเห็นชอบที่ได้แจ้งล่วงหน้า รวมทั้งการเข้าถึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับการตกลงร่วมกัน
7. แต่งตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามความเหมาะสม
8. ดำเนินการปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ตามที่กรมประมงมอบหมายและรายงานผลการดำเนินการเสนอต่อกรมประมง