สกพอ. ยันใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.อีอีซี รองรับการแก้ไขสัญญาไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน... อ้าง กม.อีอีซี ไม่เหมือน กม.อื่น เพราะเป็นสัมปทาน 50 ปี เปิดทางรัฐ-เอกชนแก้ไขสัญญาให้โครงการให้เดินหน้าต่อไปได้.... (เครดิต:กรุงเทพธุรกิจ)
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1152019
ก็ไม่รู้ สกพอ.ไปถามใครมา... ถึงบอกว่าทั้งสองฝ่ายต่างผิดสัญญาด้วยกันทั้งคู่
รัฐคือ…รฟท. ไม่สามารถส่งมอบที่ได้ตามสัญญา (หรือส่งมอบ แต่ที่ดินติดปัญหาไม่ได้ปลอดภาระจริง) ส่วนเอกชนระดมทุนไม่ได้เพราะวิกฤตโควิด วิกฤตเศรษฐกิจ...
แปลว่ามีข้อพิพาท หรือศาลชี้ขาดแล้วหรือ?
เปรียบเทียบกรณีการขยายสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C และขั้น 2 ส่วน D กับทางพิเศษบางปะอิน-ปากเกร็ด ไป 8-15 ปี ที่รัฐบาลและ กทพ. ดำเนินการไปก่อนหน้านั้น
เพราะมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดค้ำคออยู่ ในคดีหลักที่รัฐบาลโดยกรมทางหลวงดอดไปสร้าง "ทางแข่งขัน" ส่วนต่อขยายโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต จนเป็นเหตุให้ถูก บริษัททางด่วนกรุงเทพตอนเหนือ จำกัด หรือ NECL บริษัทย่อยของ BEM ฟ้องรัฐบาล กทพ. นั้น เพราะเป็นทางแข่งขันส่งผลกระทบต่อปริมาณจราจรและรายได้ทางสัมปทานที่บริษัทมีอยู่กับ กทพ. จนมีการนำคดีขั้นสู่ศาล
แต่กรณี รฟท. - เอเชีย เอรา วัน จำกัด คู่สัญญานั้น มีอะไรคือข้อเท็จจริง?
มีการยื่นข้อพิพาทกันหรือยัง มีการฟ้องคดีขึ้นสู่ศาลหรือไม่
ที่เห็นและเป็นไป หลังวิกฤตโควิด 19 เมื่อปี 2564 บริษัทที่ต้องรับโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ได้ร้องขอผ่อนชำระค่าสินรับโอน Airport Link ประเดิมไปก่อน 10,671 ล้านบาท ก่อนจะขอแก้ไขสัญญาตามให้เป็นโทษ ด้วยอ้างผลกระทบจากวิกฤตโควิด ทำให้ไม่สามารถระดมทุนก่อสร้างได้ ซึ่งส่วนนี้เป็นความผิดของคู่สัญญารถไฟอย่างนั้นหรือ
นอกจากนี้ หากโครงการนี้ ต้องไปใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.อีอีซี แล้วคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการตามสัญญาตาม ม.43 คือใคร? ต้องให้หน่วยงานใดกำกับดูแล สกพอ. หรือการรถไฟฯ กระทรวงคมนาคม?
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือตอบกลับข้อหารือของ สกพอ. กรณีจะขอยกเว้นภาษี 15 ปี และให้วีซ่าตลอดชีพตาม พ.ร.บ.อีอีซี
แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดออกมาแล้วไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.อีอีซี ได้ ต้องกลับไปใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.หลักของหน่วยงานนั้นๆ เพราะ พ.ร.บ.อีอีซี กำหนดอำนาจเพียงการประกาศเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC เท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจที่จะยกเว้นภาษีหรือดำเนินการให้สิทธิพิเศษที่นอกเหนือ หรือมากกว่าหน่วยงานที่เป็นเจ้าของกฎหมายนั้นๆ แต่อย่างใด หาก ครม. มีมติเห็นชอบกับการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นจะต้องกลับไปใช้อำนาจตามกฎหมายตาม ของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง
แล้วกรณี จะแก้ไขสัญญาสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ที่มีผลผูกพันไปถึง 50 ปีนี้ จะเป็นอำนาจของอีอีซีไปได้อย่างไร?
เหตุใดไม่สอบถามหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เกิดความชัดเจน
หรือคิดจะมั่วนิ่มเอาดื้อๆ
หากในอนาคตเกิดตวามเสียหาย บริษัทเอกชนไม่ดำเนินการตามสัญญาจนเกิดความเสียหาย หน่วยงานไหนจะรับผิดชอบ?
หมายเหตุ: อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เนตรทิพย์: Hot Issue
ชี้คณะ กก.อีอีซี แค่ "เด็กส่งน้ำ"
http://www.natethip.com/news.php?id=9153