ประเทศไทย เมื่อปี 62 เคยมีการตีความว่า “หัวหน้า คสช.” ที่ก่อการรัฐประหาร ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐมาแล้ว! จึงไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งที่ “หัวหน้า คสช.” ใช้อำนาจรัฐมากมาย จากการเป็นผู้นำประเทศ มีการโยกย้ายข้าราชการจำนวน ใช้งบประมาณมหาศาล และกินเงินเดือนหลวงมาอย่างต่อเนื่องดังนั้น จึงไม่แปลกที่คณะกรรมการกฤษฎีกา จะชักแม่น้ำ 100 สายตีความ ให้ นายนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ขาดคุณสมบัติในการเป็น “ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ” นอกจากนี้ ยังต้องช่วยรักษาสถานะของ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ให้หลุดจากตำแหน่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ไปด้วยโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้ว่า พฤติกรรมของนายกิตติรัตน์เข้าข่ายดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากเป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และยังมีหน้าที่เป็นประธานการแก้ปัญหาหนี้สินประชาชนด้วย โดยตำแหน่งดังกล่าวมีบทบาทเข้าไปสั่งการหน่วยงานต่างๆ ทั้งที่เป็นข้าราชการและไม่ใช่หน่วยงานราชการรวมทั้งการลงพื้นที่ติดตามนโยบายพรรคการเมือง โดยใส่เสื้อที่มีโลโก้พรรคการเมือง ซึ่งชี้ว่าเป็นพฤติกรรมการดำรงตำแหน่งทางการเมือง และขัดต่อ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติส่งผลทำให้ขั้นตอนการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ โดยที่แบงก์ชาติเสนอชื่อได้ 2 คน และกระทรวงการคลังเสนอชื่อได้ 1 คน“เสือออนไลน์” ต้องถามสังคมไทยว่า “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” ไม่ว่าจะโดยอิสระหรือกับพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มันเป็นความผิดอะไรมากมายนักหรือ? หรือว่าผิดศีลข้อไหน?คณะกรรมการกฤษฎีกาหลายคน เคยมีตำแหน่งแห่งหนทางการเมือง รับใช้ “ผู้นำคณะรัฐประหาร” ฉีกรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศมาหลายปี แต่ทำไม? คนเหล่านี้จึงไม่ขาดคุณสมบัติใดๆ ในหน้าที่การงานในประเทศนี้บ้างเลย!!เสือออนไลน์