สมาคมแบงก์ชี้ พ.ร.ก.ไซเบอร์ บังคับ "แบงก์-ค่ายมือถือ" ต้องร่วมรับผิดชอบต้องครอบคลุมทุกมิติ ชี้ระบบแบงก์แค่กลางน้ำต้องดูต้นน้ำค่ายมือถือและปลายน้ำตัวเงินคริปโตด้วย นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย (TBA) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกรณีที่กระทรวงดิจิทัลเตรียมผลักดันร่างแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโนโลยี บังคับให้สถาบันการเงินธนาคารและผู้ให้บริการมือถือต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายแก่ลูกค้าที่ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงดูดเงินจากบัญชีว่า สมาคมฯ ยังไม่เห็นรายละเอียด ร่างแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ในส่วนของความรับผิดชอบร่วม ที่จะให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือร่วมรับผิดชอบด้วยแต่เบื้องต้นได้มีการพูดถึงโมเดลของประเทศสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย ที่บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไปแล้วนั้น มองว่าจะต้องดูกลไกและความเข้มข้นทางกฎหมายที่จะสามารถบังคับใช้ได้ด้วย และต้องเทียบเคียงในทุกมิติ เพราะถ้าไม่ครอบคลุมในทุกมิติ จะทำให้มีช่องให้อาชญากรได้ใจ ดังนั้นต้องถามว่า มาตรการที่จะออกมาครอบคลุมแต่ละภาคส่วนตั้งแต้ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End to End) รวมถึงองค์กรกำกับดูแล (Regulator) หรือยังอย่างไรก็ดี ระบบธนาคารพาณิชย์ เป็นองค์กรที่อยู่กลางน้ำ ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ได้บูรณาการไปแล้ว มีสิ่งที่จะช่วยได้จากต้นน้ำและปลายน้ำ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาชญากรปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถป้องกันได้ ซึ่งต้องดูว่าจะสามารถป้องกันได้ขนาดไหนหรือรูปแบบไหน เพราะปัจจุบันเป็นสิ่งที่เหนือระบบธนาคารพาณิชย์ (Beyond) จะช่วยได้ทั้งสิ้น“พ.ร.ก.เราอยากให้ดูแบบ End to End เพราะบางอย่างเป็นสิ่งที่อยู่เหนือระดับที่ระบบแบงก์จะควบคุมได้ เพราะเวลาที่หลอกโอน หลอกคน จะมีหลายหมวดหมู่ category มาก คงต้องดูภาพรวม จึงต้องถามว่า มาตรการที่ออกมาจะครอบคลุมแบบ End to End หรือไม่ ซึ่งตอนนี้เรายังไม่เห็นร่างฯ”