นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. และนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือ ในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึง การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในระดับพื้นที่ไปยังฐานข้อมูลของประเทศไทย เช่น การส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเอกชนในโครงการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage หรือ CCUS) การเพิ่มการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย และการฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม เป็นต้น ความร่วมมือดังกล่าวยังรวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศ ภูมิภาคและนานาชาติ และการเสริมสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณะอีกด้วย
ความร่วมมือของ ปตท.สผ. และ สผ. ในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดการดำเนินงานระหว่างภาครัฐแอกชนอละภาคเย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ตามเจตนารมณ์ของทั้งสององค์กรที่จะร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างความสมดุล ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของประเทศ
หมายเหตุ: เกี่ยวกับ ปตท.สผ.
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ดำเนินธุรกิจสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทย และตอบสนองความต้องการใช้พลังงานให้กับประเทศที่เข้าไปลงทุน โดยมีโครงการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมกว่า 50 โครงการทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบัน ปตท.สผ. ได้ขยาย
การลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่ เช่น การลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน พลังงานรูปแบบใหม่ของอนาคต และนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเป้าหมายการเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำและการเติบโตอย่างยั่งยืน ในการดำเนินธุรกิจ ปตท.สผ. ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน และสนับสนุนเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 และยังให้ความสำคัญกับการดำเนินงานควบคู่ไปกับการดูแลชุมชน สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างคุณค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน