ควันหลงจากการที่กระทรวงการคลังและรัฐบาล คสช. ยกเครื่องภาษีสรรพสามิตเหล้า-บุหรี่ไปเมื่อปลายปี 2560 ที่ทำเอาโรงงานยาสูบแปรสภาพจากองค์กรที่เคยมีกำไรปีละนับหมื่นล้าน ส่วนแบ่งทางการตลาดที่เคยสูงกว่า 80% ของตลาดต้องไหลรูดลงมาเหลืออยู่ไม่ถึง 65% ภายในระยะไม่ถึง 3 เดือนหลังการปรับภาษีสรรพสามิตในครั้งนั้น
ในส่วนของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่กำลังตกเป็นจำเลยสังคม อย่างบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล (PMI) ผู้ผลิตบุหรี่ มาร์ลโบโร่ และ L&M นั้น ผู้บริหาร บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) ได้เปิดเผยกับ "สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์" โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมาทาง PMI ทำตามนโยบายรัฐมาโดยตลอด และเรากำลังเดินหน้าเลิกขายบุหรี่ โดยในอนาคต PMI จะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้แก่ผู้สูบบุหรี่ที่เรียกว่า ”Smoke Free Product” เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้สูบบุรี่ที่ต้องการรักษาสุขภาพเพื่อสร้างสังคมไร้ควัน
“คนไทยเราคุ้นเคยกับบุหรี่ไฟฟ้าหรือ e-cigarette ที่มีการเติมน้ำยา ซึ่งน่าจะมีคนใช้มากกว่า 4 แสนคนแล้วในปัจจุบัน แต่เราพยายามสร้างความเข้าใจให้สังคมได้รับรู้ว่า บุหรี่ไฟฟ้า e-cigarette ที่มีการขายอยู่ทั่วไปนั้น แตกต่างและเป็นคนละประเภทกับ Smoke free product ที่ PMI เราพัฒนาขึ้นมาแต่สังคมยังมีความเข้าใจว่า Smoke Free product นั้นคือบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นอันตรายต่อผู้สูบ ทั้งที่เป็นคนละประเภทกัน”
ทั้งนี้ปัญหาสำคัญที่มาจากพิษภัยของบุหรี่นั้น จะมาจากการเผาไหม้ หรือการจุดบุหรี่ที่บรรดาสารก่อมะเร็งต่างๆ จะถูกละลายออกมาด้วยจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่นั้น ต้องการเพียงสารนิโคตินที่อยู่ในใบยาเท่านั้น เพื่อให้ร่างกายมีความกระฉับกระเฉง ซึ่งสารนิโคตินดังกล่าวเป็นสารเสพติดที่ไม่ได้มีอยู่แต่ในเฉพาะบุหรี่เท่านั้น แต่ในผลไม้ทั่วไปอย่างมะเขือเทศ มันฝรั่ง ก็มีสารดังกล่าวอยู่ ดังนั้น บรรดาโรคหรือภัยอันตรายที่เกิดจากบุหรี่นั้น ก็เกิดจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง 800-1,000 องศานั่นเอง
"ผลิตภัณฑ์ Smoke Free product ที่ PMI พัฒนาออกมาคือเครื่อง iQOS นั้น ไม่ใช่บุหรี่ไฟฟ้าอย่างที่ผู้คนเข้าใจกัน แต่เป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิในการเผาไหม้ให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้มีการระเหยเอาสารที่เป็นอันตรายออกมา เครื่อง iQOS ที่ว่านี้ จะควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 250-300 องศาอันเป็นระดับที่สารนิโคตินจะถูกระเหยออกมาโดยไม่ทำให้สารที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ระเหยออกมาด้วย ซึ่งในขณะนี้ประเทศต่างๆกว่า 51 ประเทศทั่วโลกให้การยอมรับแล้ว แต่ในเมืองไทย รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ยังคงมองว่า มันคือบุหรี่ไฟฟ้าอยู่"
15 ปีแห่งปริศนาการควบคุมบุหรี่!
หากทุกฝ่ายจะย้อนไปดูตัวเลขของผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกนับแต่อดีตจะพบว่า จนถึงขณะนี้ตัวเลขผู้สูบทั่วโลกยังคงไม่ลดลง หรือลดลงในระดับที่น้อยมาก โดยในปี 2568 นั้น มีการประมาณการว่าจะมีคนสูบบุหรี่ทั่วโลกประมาณ 1,000 ล้านคน ซึ่งก็เท่ากับจำนวนที่เคยมีการประมาณกันไว้ตั้งแต่ปี 2004 แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกในระยะ 20 ปีที่ผ่านมานั้น แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เมื่อเทียบกับมาตรการรณรงค์ มาตรการควบคุมต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศระดมสรรพกำลังกันลงไป
ขณะที่ในไทยแม้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข็นมาตรการควบคุมการขายและสูบบุหรี่สารพัดมาตรการ โดยตั้งเป้าภายในปีนี้จะลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงให้เหลืออยู่ร้อยละ 16.7 โดยที่ผ่านมาได้เข็นมาตรการควบคุมทั้งการควบคุมการโฆษณา ณ จุดขาย ,ห้ามการแบ่งขาย ,ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และอื่นๆ แต่ปริมาณของผู้สูบบุหรี่ที่เคยสูงอยู่ในระดับ 10 ล้านคนหรือ 23%ในปี 2004 ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในระดับประมาณ 10 ล้านคนหรือราว 19%ของจำนวนประชากร แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของผู้สูบบุหรี่นั้นยังคงอยู่ในระดับสูง ย้อนแย้งมาตรการต่างๆ ที่ สธ.ดำเนินการไป
แม้ที่ผ่านมาหลายภาคส่วน อยากร่วมรณรงค์ลดละเลิกการสูบบุหรี่ รวมทั้งบริษัทผู้ผลิตบุหรี่เองที่หันไปผลิตบุหรี่ไฟฟ้าออกมา เพื่อลดความสูญเสีย ลดปัญหาที่เกิดจากภัยอันตรายของบุหรี่ลง แต่ภาครัฐก็ยังมีความไม่เข้าใจ และยังคงมีมาตรการห้ามการนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ Smoke free product ของ PMI ด้วย
"ในต่างประเทศนั้นหลายประเทศ ได้ยอมรับ การพัฒนาบุหรี่ไฟฟ้า ที่สามารถจะลดผลร้ายของภัยอันตรายจากบุหรี่โดยทั่วไป เพราะภัยอันตรายหลักของบุหรี่นั้นอยู่ที่การเผาไหม้ที่ไปละลายเอาสารที่ก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆออกมา พร้อมกับควันในขณะที่บุรีไฟฟ้าหรือe-cigarette นั้น จะลดผลข้างเคียงเรานี้ลงไป หลายประเทศมีสถิติที่เห็นได้ชัดเจนว่ายอดขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นนั้นส่งผลให้บุหรี่โดยทั่วไปลดลง อย่างญี่ปุ่นนั้นบุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ธรรมดาลดลงอย่างฮวบฮาบ 9 - 10% จากเดิมที่ลดลงในระดับ 1-2% เท่านั้น"
มีการประเมินว่า ในปัจจุบันมีผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าหรือมากกว่า 40,000 คน ถ้ายังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคนเหล่านี้ต้องลักลอบซื้อบุหรี่ไฟฟ้า จากตลาดมืดหรือใต้ดินทั้งที่หากมีการควบคุมการจำหน่ายทรัพย์จะสามารถจัดเก็บภาษี ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และน่าจะลดผลกระทบของตัวผู้สูบบุหรี่เองและบุคคลข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากบุหรี่มือสองอีกกว่า 17 ล้านคน
ในส่วนของ PMI นั้นเราพยายามที่จะสร้างความเข้าใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Smoke Free Products ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์เพื่อควบคุมอุณหภูมิการเผาไหม้ที่ไม่ก่อให้เกิดสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คน ที่มีความแตกต่างไปจากอีซึกและโดยทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศต่างๆ กว่า 51 ประเทศได้ให้การยอมรับและจำหน่ายได้แล้ว แต่เมืองไทยก็ยังคงแบนในเรื่องนี้!
อ่านข่าวเพิ่มเติม:
- เนตรทิพย์:Special Report : ชำแหละ 2 ปี ยกเครื่องภาษีบุหรี่ ผลงานชิ้นโบดำรัฐบาล คสช. (ตอนที่1)
http://www.natethip.com/news.php?id=1441