ดร.ทรงเกียรติ ล้านพลแสน นายกสมาคมองค์กรบริหารท้องถิ่นประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯ ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมของผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการของท้องถิ่น สร้างความ เป็นเอกภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท โดยเฉพาะการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นทุกประเภทได้ร่วมกันผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนี้ เพื่อ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้จัดประชุมสัมมนาในหัวข้อ “กระจายอำนาจ ทางออกประเทศในการแก้ปัญหาทุกระดับ” ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ขอนแก่น (ไคซ์) 222 หมู่ที่ 12 ถนนมิตรภาพ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ที่มาและเหตุผล การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และช่วยทำให้ปัญหาและความต้องการของประชาชน ในด้านการจัดบริการสาธารณะ ซึ่งจะต้องดำเนินการในส่วนกลาง ได้รับการแก้ไขโดยทันท่วงที แต่ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจาก แนวคิดการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองและความเป็นอิสระในการ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของประชาชน และเน้นการสร้างโอกาส ของการเข้าถึงการมีส่วนร่วมในการรับรู้ การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรภาครัฐที่มีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด โดยบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับท้องถิ่น
สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาประเทศที่จะกำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วน ต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ดังนั้นการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรของกรม ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพพร้อม ที่จะรับภารกิจและการจัดบริการให้แก่ชุมชน
จึงนับว่า เป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อสนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สมาคมองค์กรบริหารท้องถิ่น ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ในการดำเนิน กิจกรรมของ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการของท้องถิ่น สร้างความเป็นเอกภาพให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท โดยเฉพาะการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทได้ร่วมกัน ผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ดังกล่าว จึงได้จัดประชุมเสวนาในหัวข้อ “กระจายอำนาจ ทางออกประเทศในการแก้ปัญหาทุกระดับ”
ด้าน นายประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส เลขาธิการสมาคมฯ เปิดเผยว่าสำหรับโครงการประชุมสัมมนา เรื่อง “กระจายอำนาจ ทางออกประเทศในการแก้ปัญหาทุกระดับ” ระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2566 นี้สาระสำคัญจะมีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างสมาคมฯ สมาพันธ์ องค์กรท้องถิ่นอื่น ๆ และผู้เข้าร่วม ประชุมสัมมนาสรุปสถานการณ์เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ข้อกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรวบรวมประเด็นต่าง ๆ และจัดกลุ่ม นำเสนอ เช่น ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการเงินการคลัง และงบประมาณ ด้านทรัพยากรบุคลากรท้องถิ่น ด้านการตรวจสอบ การกำกับดูแล และการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านนวัตกรรมท้องถิ่น ฯลฯ
สำหรับเวทีสัมมนาจะมีวิทยากร ทั้งนักการเมือง นักวิชาการ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม พรรคเพื่อไทย รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านการกระจายอำนาจ นายบรรณ แก้วฉ่ำ อนุกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ของ อปท. นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา อดีตนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายถวิล ไพรสณฑ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย นายวิฑูรย์ เอี่ยมโอภาส ที่ปรึกษาด้านการกระจายอำนาจ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่ สมาคมฯ เบอร์ 091-064-3085, 086-0867979, 087-8977070, 082-112-1555