ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีรัฐบาล “เศรษฐา” พยายามดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่ Landbridge ชุมพร-ระนอง เชื่อมฝั่งทะเลอันดามัน-อ่าวไทย มูลค่าการลงทุน 1 ล้านล้านบาทของประเทศไทยกำลังติดหล่ม!
ล่าสุด เพจโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย ออกมาเผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยระบุว่า “ถ้า Landbridge ชุมพร-ระนอง มัวแต่ทะเลาะกันก็เลิกเถอะ รอไปใช้ #ECRL ของมาเลย์ เชื่อม 2 ฝั่งทะเล เปิด 2570”
พร้อมชี้เปรี้ยงลงไปว่า ..ส่วนไทย สร้างไม่ได้ กลัวผลกระทบสิ่งแวดล้อม กลัวคนต่างถิ่น สารพัดปัญหา สุดท้ายข้างบ้านเสร็จก่อน รอไปใช้นะ!!!
วันนี้มาขอระบายเรื่องแผนการพัฒนา Landbridge ช่วง ชุมพร-ระนอง หน่อย เพราะผ่านมากว่า 2 ปี ที่เริ่มศึกษา หาข้อมูล และหาความเป็นไปได้ จนมาถึงการทดสอบความสนใจของเอกชน ที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาเส้นทาง
แต่ที่ได้ยินมา ทั้งในข่าว และมีคนในพื้นที่เล่าให้ฟังว่า มีการตั้งทีมคัดค้านเพื่อไม่ให้โครงการเกิด โดยยกสารพัดปัญหา สิ่งแวดล้อม ไม่คุ้มค่า เรือใช้เวลานาน ไม่มีสายเรือมาใช้ต่างๆ นานา ตั้งม๊อบมาคัดค้าน ให้โครงการมีความมั่นคงต่ำ และสุดท้ายเอกชนก็จะไม่สนใจเข้ามาร่วม
แต่คุณรู้รึเปล่า ระหว่างที่เรามัวแต่ทะเลาะกัน มาเลย์ เค้าทำนำหน้าเราไปแล้วกับโครงการ ECRL (East Coast Rail Link) เชื่อม 2 มหาสมุทร ระหว่างท่าเรือ Port Klang ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กับ Kuantan Port ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมันก็คือ Landbridge ที่เราพูดถึงกันอยู่เนี่ย!!!
ซึ่งมาถึงตอนนี้แล้ว ถ้าโครงการเรายังไม่ได้ข้อสรุป และยังคัดค้านเตะขากันไปมาอยู่แบบนี้ก็ “เลิกเถอะครับ” เสียเวลา เปลืองเงิน เอาไปใช้กับ EEC เถอะ เพราะถ้าช้ากว่านี้เราก็ไม่ทัน มาเลย์แล้ว
ทั้งนี้มาดูรายละเอียด โครงการ ECRL คู่แข่งของ Landbridge ของเรากันก่อน..
โดย ECRL เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง รัฐบาลจีน (75%) และมาเลย์ (25%) โดยเป็นรถไฟเชื่อมระหว่าง 2 ฝั่งทะเล เพื่อมาแก้ปัญหาช่องแคบมะละกา ที่หนาแน่นมาก และนำสินค้าเข้าแปรรูปในประเทศก่อนส่งออกทั้ง 2 ฝั่งทะเล
มีรายละเอียดเส้นทาง..
ระยะทางรวม 665 กิโลเมตร
- ยกระดับ 138 กิโลเมตร
- อุโมงค์ 53 กิโลเมตร
- ระดับดิน 404 กิโลเมตร
- สายทางแยก 70 กิโลเมตร
มาตรฐานการออกแบบรถไฟ
- รถไฟราง Standard Gauge (1.435 เมตร)
- ทำความเร็วรถโดยสารสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- เป็นทางคู่ ตลอดเส้นทาง
- ติดระบบจ่ายไฟฟ้า (OCS) ตลอดเส้นทาง
ล่าสุด Update ความคืบหน้า เดือนมิถุนายน คืบหน้าแล้ว 65% คาดกว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2571!!!
มีอีกหนึ่งความน่าสนใจคือ เส้นทางนี้ จะทำสายแยกมาติดกับทางรถไฟสายใต้ของไทย (สถานีสุไหงโกลก) ซึ่งอนาคตอาจจะมีการเจรจารื้อฟื้นการเชื่อมโยงระหว่างประเทศได้
แต่ในอีกมุมหนึ่ง สินค้าไทยเราต้องไปอาศัยท่าเรือมาเลย์ ในการขนส่งมาขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่สะดวกมากขึ้นในการรับ-ส่งสินค้าเข้าสู่ โครงการ ECRL ได้โดยตรง
สุดท้ายแล้ว ขอฝากถึงผู้เกี่ยวข้อง ช่วยตัดสินใจให้ชัดว่าจะเอายังไง จะทำไม่ทำ เพราะถ้าช้ากว่านี้ “มันก็สายเกินไปแล้ว”
หมายเหตุ:
- ลิงค์รายละเอียดโครงการ
https://www.mida.gov.my/wp-content/uploads/2024/03/East-Coast-Rail-Link-ECRL-–-Value-Adding-Disruptor-for-National-Logistics-by-MRL_compressed.pdf?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2MDChMP1s0Db4zDglPjogg5c_TX9EVDJmMMi5zSN1JVzb5nf_1eJJugeQ_aem_CQvxFc87wf9Al93rMldtyA
- VDO ความคืบหน้าโครงการ เดือนมิถุนายน 67
https://youtu.be/hNCcl6Po3d8?si=YPGGOuj0xVIlE3r9