วงการโทรคมนาคมหวั่น เส้นทางพัฒนา 5จีของไทย ไปไม่ถึงฝั่ง เหตุรัฐยังไร้มาตรการช่วยเหลือขัดเจน แม้จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน แต่กับปล่อยให้เอกชนลงทุนไปตามลำพัง ต้องบากหน้าเจรจาหน่วยงานรัฐ-อปท. โดยลำพังไร้ประสานงาน หวั่นสุดท้ายอาจทำให้ไทยล้าหลัง ไม่อาจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของโลกได้ แม้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะป่าวประกาศความสำเร็จของประเทศไทยที่สามารถผลักดันให้ประเทผสไทยเปิดให้บริการ 5จีในเชิงพาณิชย์ได้เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน ลบคำสบประมาทเดิมที่ไทยเคยล้าหลัง เกือบจะเป็นประเทศสุดท้ายของโลกที่มีการเปิดให้บริการระบบ 3จี และ 4จีก่อนหน้าโดย น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีบริการ 5G เชิงพาณิชย์ เป็นเพราะมีความพร้อมทั้งด้านผู้บริโภค ที่ต้องการใช้บริการ 5G ขณะที่ฝั่งผู้ให้บริการก็มีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 4G ครอบคลุมทั่วประเทศและพร้อมที่จะพัฒนาเป็น 5G อยู่แล้วพร้อมกันนี้ รัฐบาลได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุน 5G เพื่อสร้างแรงจูงใจดึงดูดนักลงทุนให้เกิดการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม 5G โดยการใช้งาน 5G จะเกิดขึ้นในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และดึงดูดการลงทุนจากบริษัทต่างชาติขณะที่ 6 กลุ่มจังหวัดที่จะได้ประเดิมการใช้งาน 5G เพื่อนำไปสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา และภูเก็ต รวมทั้งท่าอากาศยานที่สำคัญๆ ที่จะได้สัมผัส 5G ก่อน อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เปิดเผยว่าแม้ประเทศไทยจะประสบผลสำเร็จในการเปิดให้บริการ 5 จีในเชิงพาณิชย์ได้เป็นประเทศแรกในภูมิภาค แต่ความจริงใจของภาครัฐในการพัฒนา 5 จีกลับยังคงไร้ทิศทาง และที่ผ่านมาภาครัฐมีแต่คาดหวังที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการพัฒนา 5 จีอยู่ฝ่ายเดียว แต่ในส่วนของภาคเอกชนที่หอบเงินมาประมูลคลื่น 5 จีออกไปนับหมิ่นล้าน หรือหลายหมื่นล้านนั้น วันนี้ยังไม่มีรายใดเก็บเกี่ยวอะไรได้ ทุกค่ายยังคงหืดจับหายใจไม่ทั่วทัอง "หากรัฐมีเจตนาจะผลักดัน 5 จีอย่างแท้จริง สิ่งที่ภาครัฐควรเร่งรัดดำเนินการ ก็คือ การอำนวยความสะดวกในการวางโครงสร้างพื้นฐาน 5จี ที่ต้องทั่วถึง และทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ข้อเท็จจริงในวันนี้ ผู้ให้บริการแต่ละค่ายกว่าจะเข้าไปติดตั้งโครงข่าย 5จีในแต่ละพื้นที่ได้ ต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ ไหนจะต้องถูกโขกค่าเข่า เบี้ยบ้ายรายทางเพื่อขอเข้าไปติดตั้งเครือข่าย ทั้งที่เป็นบริการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นบริการสาธารณะ แต่ผู้ให้บริการหรือ Operator ก็ยังโดนขูดรีดขูดเนื้อจากส่วนราชการบางหน่วยงาน ที่คิดแต่จะเก็บค่าติดตั้งอุปกรณ์แม้แต่สถานที่ราชการเองก็ยังไม่มีการบูรณาการ บางพื้นที่เป็นของป่าไม้ บางพื้นที่เป็นของกรมธนารักษ์ บางพื้นที่เป็นของสำนักงานทรัพย์สิน หรือองค์กรปกครองท้องถ่ิน (อปท.) ซึ่งแต่ละแห่ง ผู้ให้บริการหรือ Operator ต้องข่วยเหลือตนเองท้ังสิ้น เพราะรัฐขาดมาตรฐานในการจัดการโดยสิ้นเชิง"แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยว่า แม้แต่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐป่าวประกาศจะเป็นพื้นที่นำร่องให้บริการ 5จี ได้อย่างครอบคลุมทั้ง 100% กรุยทางไปสู่ Smart Manufacturing หรือฝันจะเป็นเมืองอัจริยะ Smart City แต่การจะเข้าไปติดตั้งขยายเครือข่าย 5จีในพื้นที่ดังกล่าว ก็ยังไร้มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ กลายเป็นว่าผู้ให้บริการตัองบากหน้าไปเจรจากับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เอาเอง โดยรัฐบาลไม้ได้มีมาตรฐานใดรองรับให้ความช่วยเหลือเลย แม้โครงข่ายพิ้นฐานโทรคมนาคม 5จี จะเป็นการให้บริการสาธารณะ แต่ผู้ให้บริการ หรือ Operator ยังโดนขูดรีดขูดเนื้อจากส่วนราชการบางหน่วยงาน ที่คิดแต่จะเก็บค่าติดตั้งอุปกรณ์ "ทั้งที่รัฐบาล มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 5จีแห่งชาติ แต่บทบาทของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ก็ยังไม่มีมาตรการอะไรที่เป็นรูปธรรมออกมาช่วยเหลือภาคเอกชนที่จะลงทุนพัฒนา 5จีที่ว่านี้ แม้แต่มาตรการในการอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานแก่ผู้ให้บริการโครงข่าย 5จี ที่จะเข้าไปติดตั้ง ขยายเครือข่าย การบูรณาการขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐในการอำนวยความสะดวกด้วยกันยังไม่มี"ทั้งหมดคือ ปัญหาหลักที่รัฐต้องรีบแก้ไข หากมีความจริงใจที่จะให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน 5จี เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง ก่อนที่เราจะเป็นประเทศแรกที่ให้บริการ 5จี แต่กลับจะเป็นประเทศสุดท้ายที่ใช้ 5จีในเชิงพาณิชย์ได้