บทบาท ณ นาทีนี้ของ บสย. ถือเป็น “หัวใจสำคัญ” ต่อลมหายใจให้กับ 1 แสนผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี ไม่เว้นแม้กระทั่ง “แบงก์เกอร์” เพื่อที่ทุกภาคส่วนจะร่วมมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยก้าวไปข้างหน้า
บทบาทตามพันธกิจ ณ นาทีนี้ ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ภายใต้การนำของ “ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร” กรรมการและผู้จัดการทั่วไป โดย ”บรรยง วิเศษมงคลชัย” ประธานกรรมการฯ คอยคัดท้าย...
กลายเป็นเครื่องมือสำคัญรองรับนโยบายของรัฐบาล ระดับ “หัวใจ” ในการเติมเต็มสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจระดับต่างๆ ทั้งเพื่อการดำรงอยู่ของกิจการและการจ้างงาน รวมถึงการขยับขยายธุรกิจไปข้างหน้ารองรับสถานการณ์ใหม่ในอนาคต
ภาพหลัก...อาจดูเหมือนกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะได้ประโยชน์มากที่สุด จากบทบาทและหน้าที่ของ บสย. ในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจเหล่านี้
แต่เอาเข้าจริง สถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ต่างก็ได้รับประโยชน์ไม่ต่างกัน ในฐานะ “เจ้าหนี้เงินกู้”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ”ธนาคารพาณิชย์”..
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ จากปมร้อน...สงครามการค้าสหรัฐฯ และจีน ช่วงปลายปี 2562 ต่อเนื่องถึงปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลก นับแต่ต้นปี 2563 จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีทีท่าว่าจะโรยราแต่อย่างใด
ทว่าผลของ 2 เหตุการณ์ ได้สร้างปัญหาและผลกระทบต่อเนื่องและยาวนาน ต่อการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น...ภาคการส่งออก หรือภาคการท่องเที่ยว ไปทั่วทั่งโลก
ประเทศที่พึ่งพาเครื่องยนต์เศรษฐกิจ 2 ตัวข้างต้น อย่าง...ประเทศไทย ดูจะได้รับผลกระทบที่หนักหน่วงและรุนแรง
แม้ไตรมาส 3 และ 4 ที่หลายฝ่าย คาดหมายกันว่า...เศรษฐกิจไทยได้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จนทำให้ที่เคยคาดการณ์ว่าทั้งปี...การส่งออกของไทย น่าจะ -7.6% ก็เหลือเพียง -6.6% ขณะที่การท่องเที่ยว ที่คิดว่าจะเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้า-ออกในประเทศไทย ได้เพียง 4-5 ล้านคน (จากตัวเลขในปี 2562 ที่มีมากเกือบ 40
แต่ความเป็นจริง แม้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จะดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุด กระนั้น ก็ยังไม่ดีพอจะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการเหล่านั้น ได้ก้าวพ้น “จุดเสี่ยง” บนความอยู่รอดในเชิงธุรกิจ
หากไม่มี บสย. ที่คอยค้ำประกันเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสร้างหลักประกันความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์แล้ว
ไม่มีทางที่ “เจ้าสัวแบงก์” จะปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจอย่างแน่นอน
ล่าสุด เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 ทันทีที่ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 (PGS9) และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (Micro 4) โดย บสย.
กับวงเงินรวม 1.75 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลหวังจะนำไปใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างทั่วถึงและมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
เท่านั้น ไม่เพียง...เสมือนการ “ยกภูเขาออกจากอก” ในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
หากแต่ในกลุ่ม “เจ้าหนี้” บรรดาธนาคารพาณิชย์เอง ก็โล่งออก...เบาใจไม่ต่างกัน หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป
เพราะเหตุที่...รายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ ยังคงมาจาก “กำไรส่วนต่าง” ระหว่าง...ดอกเบี้ยรับและจ่าย
แม้เงินกู้ “ซอฟท์โลน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ จะมีให้กับธนาคารพาณิชย์รวมกันมากกว่า 5 แสนล้านบาท และคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำมากที่ 0.01% เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ นำไปปล่อยกู้ต่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอัตรา 2.0%
ดูเหมือนจะสร้างกำไรมหาศาลอยู่แล้ว
แต่ขึ้นชื่อว่า “ธุรกิจการเงิน” นั้น ไม่มีทางที่ “เจ้าสัวแบงก์” ทั้งในยุคโลว์เทคหรือยุคดิจิทัล จะยอมเสี่ยงเป็นอันขาด หากหลักประกันเงินกู้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไม่เหนือสุดๆ จริงๆ
“สำนักข่าวเนตรทิพย์” ถึงได้ย้ำ! บทบาทในการค้ำประกันเงินกู้ของ บสย. ได้สร้างความลิงโลดใจให้กับบรรดานายธนาคารพาณิชย์ เป็นอย่างมาก
การมีมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ บสย. ใช้วงเงินมากถึง 1.75 แสนล้านบาท ในการค้ำประกันเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
จึงก่อประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในวันนี้และวันข้างหน้า
ถึงขนาดที่คนระดับ...พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ “หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ” ของรัฐบาล รวมถึง นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน และ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ต่างพูดถึง บสย. เป็นเสียงเดียวกัน...
บสย. คือ กลไกสำคัญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจได้มีส่วนร่วมกันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพื่อก้าวไปข้างหน้า...และจะมีผู้ประกอบการฯ อยู่ในข่ายได้รับสินเชื่อเไม่ต่ำกว่า 1 แสนราย
และเป็น 1 แสนรายที่ขยายผลไปยังลูกจ้างพนักงานอีกนับล้านคน!