
อธิบดีกรมประมงออกโรงโต้ “ซีพีเอฟ” ที่อ้างกำจัดปลาหมอคางดำตั้งแต่ปี 2554 แต่ จนท.กรมประมง ทอดแหในบ่อเพาะเลี้ยงของบริษัทในปี 60 ยังเจอจังๆ
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวถึง กรณีที่ ผู้บริหาร บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า ได้ทำลายปลาหมอคางดำด้วยการ ฝังกลบและส่งซากปลาหมอคางดำดองโหลไปให้กรมประมงแล้วตั้งแต่ต้นปี 2554 หลังจากบริษัท ขออนุญาตนำเข้ามาอย่างถูกต้อง แต่พบว่า ปลาหมอคางดำได้ทยอยตายลงภายใน 30 สัปดาห์ จึงยุติการ ทดลองวิจัยนั้น

แม้ส่วนตัวจะเป็นอธิบดีมาได้แค่ 4 เดือน แต่จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางเอกสารย้อนกลับไปในช่วงดีงกล่าวทางกรม ยืนยันได้ว่ายังไม่ได้รับซากปลาหมอคางดำและเอกสารรายงานการยุติการวิจัยจากบริษัทแต่อย่างใด
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า ในปี 2560 เจ้าหน้าที่กรมประมงขอเข้าตรวจสอบที่บ่อเพาะเลี้ยงของซีพีเอฟที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อตรวจหาสาเหตุเกี่ยวกับการระบาดของปลาหมอคางดำ โดยมีการทอดแหในบ่อเพาะเลี้ยงของบริษัทเองพบว่า มีปลาหมอคางดำในบ่อ จึงได้เก็บตัวอย่างจากครีบและชิ้นเนื้อมารักษาไว้ที่ห้องเก็บตัวอย่างของกรมประมง
ทั้งนี้ กรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดของปลาหมอคางดำ รุกรานระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทย และสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง ตามคำสั่งของที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการ แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ให้ทราบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วันทำการ แล้วรายงานต่อร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรฯ ต่อไป
BIOTHAI เปิดละเอียดยิบ..ฟาร์มเลี้ยงปลาหมอคางดำ CPF
ขณะที่ BIOTHAI ได้โพสต์ FB โดยอ้างรายงานของสื่อไทยพีบีเอสที่นำเสนอข้อมูลของ Joey Kanis ที่ออกมาเปิดกระบวนการเลี้ยงปลา ของฟาร์มอีสาน สมุทรสาคร ของ CPF ในช่วงเวลาเกิดเหตุ โดยระบุว่า เปิดกระบวนการเลี้ยงปลา ฟาร์มยี่สาร สมุทรสงคราม

ดูจากแผนที่ ซึ่งย้อนหลังไปในปี 53 - 54 ประกอบคำให้การของ อดีตลูกจ้าง ระบบการเลี้ยงปลาที่นั้น เป็นระบบการเลี้ยงตามมาตรฐาน ที่ไม่ต่างไปจากฟาร์มเลี้ยงที่ทำระบบทั่ว ๆไป
1. มีระบบนำน้ำจากคลองธรรมชาติ เข้าสู่ฟาร์มเลี้ยง โดยมีบ่อพักน้ำ (สีส้ม) ขนาดใหญ่ เป็นบ่อแรก เพื่อตรวจคุณภาพ และปรับคุณภาพน้ำ ที่บ่อพักน้ำนี้ มีศาลาริมน้ำ ด้านหลังเป็นคลอง คือ คลองดอนจั่น ซึ่งบ่อพักน้ำขนาดใหญ่ มีขนาดประมาณ 15-20 ไร่ มี 3 บ่อ
2 จากบ่อพักน้ำ ด้านขวามือ จะมีบ่อพักน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า อีก 2 บ่อ
3. จากบ่อพักน้ำ (ในกรอบสีเหลือง) ยังแบ่งเป็นบ่อ อนุบาล และ บ่อผสมพันธุ์ปลา
4. จากนั้น เมื่อปลาโตได้ชนาด จะย้ายไปที่บ่อเลี้ยงปลา (สีแดง) ซ้ายมือ ... จุดนี้ ด้านหลังติดคลองบางยาว ลักษณะการเลี้ยงปลา จะแบ่งไปตามกระชังปลา เพื่อสะดวกต่อการติดตามศึกษา
5. การเลี้ยงปลาในขณะนั้น เป็นลักษณะแบบบ่อดิน ใช้สแลนกันแดดเป็นหลังคา แต่ละบ่อมีสะพานไม้ไผ่รวก บ่อละ 2-3 สะพาน กระชังปลา ผูกไว้ติดกับสะพาน ซึ่งบ่อเลี้ยงปลามีขนาดบ่อประมาณ 5 ไร่
6. ระบบการระบายน้ำ เวลาที่ต้องถ่ายน้ำ พนักงานจะใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ระบายน้ำออกจากระบบไปเข้าสู่คลอง เพื่อให้น้ำเกิดการหมุนเวียน
7 ระบบน้ำในฟาร์ม ทำเป็นระบบปิด คือ แบ่งเป็นโซนน้ำดี และโซนน้ำเสีย ซึ่งน้ำเสียจะวนไปบำบัดในบ่อใหญ่ แล้ววนกลับมาใช้ใหม่ ผ่านระบบการสูบน้ำขนาดใหญ่ หากน้ำหายไปก็จะดึงน้ำจากคลองธรรมชาติ เข้ามาเติมเพื่อรักษาระดับน้ำในบ่อ
ส่วนคำให้การชาวบ้าน ในคลองบางยาว.. เคยจับปลาทับทิมได้ .. แล้วปลาอื่น ๆ จะไม่หลุดได้ไง