รายงานข่าวจากเพจศูนย์ปฎิบัติการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เกิดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่การลงทุน และแหล่งบ่มเพาะ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
โครงการโครงสร้างพื้นฐานของ EEC ได้รับการพัฒนา เพื่อเป็นประตูสำคัญที่เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ในการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิก
EEC มีการพัฒนา “เมืองแห่งนวัตกรรม” หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้เป็น “ซิลิคอนวัลเลย์” ของเมืองไทย
EEC มีการพัฒนา “เมืองใหม่อัจฉริยะด้วยนวัตกรรม” หรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
EEC ไม่ได้เป็นเรื่องของคนรวย แต่ EEC ทำให้เกิดการกระจายรายได้ การจ้างงาน ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย SME ร้านค้า ชุมชน ต่างๆ มากมาย เป็นวงกว้าง ทั้งในระดับฐานราก ไปจนถึงระดับประเทศ
EEC สร้างโอกาสงานแก่เยาวชนหญิง-ชาย วุฒิอาชีวศึกษา-ปริญญาตรี-โท-เอก ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น..อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 17,000 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,000 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 58,000 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,000 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 109,000 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมยานยนต์อนาคต 53,000 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมการบิน 32,000 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมระบบราง 24,000 ตำแหน่ง
EEC ทำให้เกิดการจ้างงาน “ภาคธุรกิจ” ไม่น้อยกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปี “ภาคแรงงานการก่อสร้าง” ไม่น้อยกว่า 16,000 อัตรา
EEC สร้างผลตอบแทนกลับมา ในรูปแบบส่วนแบ่งรายได้และภาษีให้กับภาครัฐ จากโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 4 อย่าง ทั้งรถไฟความเร็วสูง-สนามบิน-ท่าเรือ เช่น สนามบินอู่ตะเภา เพิ่มรายได้รัฐเข้าประเทศมากกว่า 3 แสนล้านบาท สร้างงานเพิ่มกว่า 15,600 ตำแหน่งใน 5 ปี เป็นต้น