เรื่องของ “สมาธิ” ยังคงเป็นเรื่องที่ผู้คนโดยทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ยังไม่ถึงวัย ยังไม่ถึงเวลา จะให้ปลีกเวลาไปทำสมาธิได้อย่างไร หลายคนมีเวลาไปท่องเที่ยว มีเวลาไปสังสรรค์เพื่อนฝูง กินเหล้าเมาหยำเปได้ทุกสัปดาห์ แต่หากจะมีใครชักชวนเข้าวัดฟังธรรม นั่งสมาธิแล้วเป็นอันจบข่าว!เราๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายก็คงมีความรู้สึกไม่ต่างกัน แต่จริง ๆ แล้วการทำสมาธินั้น ไม่จำเป็นจะต้องถ่อไปถึงวัด ข้ามน้ำข้ามทะเลไปวัดป่าหรือวัดดังๆ อะไรทั้งหลายอะไรเลย จะอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน ไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ หรือแม้กระทั่งระหว่างการนั่งรถเมล์ นั่งรถยนต์ส่วนตัวไปบนท้องถนน ไปท่องเที่ยว หากแม้นมีเวลาสักนิดทำสมาธิไปก็สามารถทำได้ จะมาก จะน้อย แม้แค่นาทีหรือแค่ 5 นาที ก็สามารถทำ “วิทิสาสมาธิ” ได้แล้วเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม (พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล และประธานสถาบันพลังจิตตานุภาพ ได้เทศนาใน “ธรรมะรุ่งอรุณ” ในเรื่องประโยชน์ของสมาธิ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2551 เอาไว้ว่า คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นของดี เป็นของวิเศษนับว่าเป็น “แก้วรัตนมงคลของโลก” เพราะเหตุใดเพราะเหตุว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น สามารถที่จะชี้ช่องทางให้พวกเราทั้งหลายพากันดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร ถ้าไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่รู้ว่าเราจะดำเนินชีวิตอย่างไร นอกจากรับประทานอาหารเข้าไปแล้วก็ถ่ายไป เกิดมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งหนุ่มสาว แล้วก็แก่เฒ่าตายไปก็ไม่ได้อะไรไปด้วย แต่เมื่อมีคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเราก็สามารถที่จะตักตวงเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเอาไว้กับตัวเรา เป็นต้นว่าการละบาป บำเพ็ญบุญ“แม้ว่าบุคคลผู้นั้น จะมีเงินมีทอง มีข้าวของมากมายอย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าได้สร้างปรับขึ้นมาแล้ว ความทุกข์ก็จะต้องติดตามตัวไปทั้งชาตินี้และชาติหน้า เพราะการสร้างความชั่วสร้างบาปนั้น นอกเหนือไปจากจะทำให้ตัวเองเดือดร้อนแล้วก็ยังทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย” องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ปุญญาณี ปะระโลกัสมิง ปติฏฐาโหนติ ปาณินัง" บุญเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจำเป็นจะต้องละสิ่งชั่วร้าย ละบาปทั้งปวง แล้วก็หันมาบำเพ็ญบุญกุศล หนทางที่จะทำให้เกิดบุญกุศลนั้นมีอยู่ 3 ทางด้วยกัน คือ การบริจาคทาน การทำกุศล และการภาวนา การบริจาคทานก็เป็นต้นว่า เราสร้างวัดวาอาราม ศาลาการเปรียญ สร้างกุฏิให้พระสงฆ์ส่วนการทำกุศล ก็ได้แก่ การให้แก่คนยากจนทั้งหลาย บริจาคทรัพย์ของตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น และพากันรักษาศีลก็คือการรักษาศีล 5 ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมยของคนอื่น ไม่ประพฤติผิดข่มขืนอนาจาร ไม่โกหกหลอกลวง ไม่กินเหล้าเมาสุรายาเสพติด ไม่คดโกงคอรัปชั่นต่างๆ เหล่านี้ก็เรียกว่าเป็นผู้มีศีลแล้ว เมื่อเรามีศีลแล้วก็ต้องมีการภาวนา การภาวนาก็คือการทำสมาธินั่นเองการทำสมาธิ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าทำที่ใจของเรา ใจของเรานั้นเป็นตัวกลางที่มีความสำคัญอย่างยิ่งร่างกายของคนเรานั้นแม้จะแตกสลายไป แต่ใจไม่ได้แตกสลายตามร่างกายไปด้วย เมื่อเราทำความดีต่างๆ เป็นต้นว่าการทำสมาธิจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ทำไมถึงบอกว่าถูกต้องที่สุด เพราะว่าเมื่อทำลงไปแล้วมันจะเกิดความเยือกเย็นใจ นอกจากตัวของเราจะเยือกเย็นใจแล้ว ยังทำให้คนอื่นได้รับความเย็นใจนี้ไปด้วย การเยือกเย็นใจของสมาธิก็คือ การสร้างพลังจิตนั่นเอง จุดประสงค์ของการทำ “สมาธิ” อยู่ที่การสร้างพลังจิต เพราะว่าพลังจิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่เราจะมีชีวิตไปในทางที่ดี สามารถจะควบคุมจิตใจของเราได้ ถ้าหากเราไม่มีพลังจิตแล้ว เราไม่สามารถที่จะควบคุมจิตใจของเราแล้ว ความขัดแย้งในหมู่ชนย่อมจะต้องเกิดขึ้น ความขัดแย้งที่เป็นอันตรายต่อครอบครัว ต่อสังคมและต่อประเทศชาติ และสังคมโลกทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็ล้วนมาจากการขาดความยับยั้งชั่งใจ หรือการขาดการควบคุมจิตใจของตนเองนั่นเองสมาธินั้น แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ สมาธิธรรมชาติและสมาธิที่เราสร้างขึ้น สมาธิธรรมชาตินั้นมีอยู่ในตัวของบุคคลโดยทั่วไปทุกๆ คน ได้มาจากการนอนหลับผักผ่อน ได้มาโดยธรรมชาติ ถ้าขาดสมาธิธรรมชาติเมื่อไหร่คนๆ นั้นก็จะต้องเป็นบ้า แต่ที่เรายังไม่เป็นบ้ายังเป็นคนธรรมดาอยู่ได้ก็เพราะเรามีสมาธิที่ได้จากธรรมชาติแต่สมาธิธรรมชาตินั้น เป็นเพียงสมาธิที่ใช้ไปใช้แล้วก็หมดไป ไม่สามารถที่จะเก็บรวบรวมพลังจิตได้ ไม่สามารถสะสมได้เหมือนกับสมาธิที่สร้างขึ้น สมาธิที่เราสร้างขึ้นนั้นก็คือ การที่เราพากันทำสมาธิ โดยการบริกรรม “พุทโธ พุทโธ พุทโธ” ไปจนกระทั่งจิตใจตั้งมั่น ไม่วอกแว่ก ไปซ้ายไปขวา แต่ตั้งมั่นจนเกิดความเบากาย เบาใจขึ้นมา ที่เรียกว่า “จิตเป็นสมาธิ” เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว สมาธินี้ก็จะผลิตพลังจิตสะสมไว้ในจิตของเรา เมื่อสะสมไว้มากขึ้น มากขึ้น พลังจิตนี้ก็จะฝังสนิทติดอยู่ในใจของเราตลอดไป กลายเป็นสิ่งที่เตือนตัวเรา หมายความว่า เมื่อเรามีสมาธิแล้วเรามีตัวเตือนตัวของเราให้รู้ว่าสิ่งไหนดี ไม่ดี ไม่ควรทำ เหมือนที่เราอ่านหนังสือเรียน ศึกษาตั้งแต่เด็ก จากชั้นประถม มัธยมขึ้นไปก็ได้ความรู้พอกพูนขึ้นมา ความรู้ที่ได้นั้นจะติดตัวเราไปตลอด กลายเป็นตัวเตือนทำให้เรารู้ว่า ตัวอักษรนี้คืออะไร บวก ลบคูณ หารได้ อ่านออก เขียนได้ จดจำได้ไม่มวันสูญสลายนั่นแหล่ะ “ท่านจึงได้เปรียบเทียบว่าการทำสมาธิก็เหมือนกับการสร้างเขื่อน อย่างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตราดนั้น เขากักน้ำเอาไว้สร้างเขื่อนด้วยเทคนิคเทคโนโลยี สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ทั้งสาย เมื่อกั้นเป็นเขื่อนแล้วก็กักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เมื่อต้องการใช้ หรือเอาไปผลิตกังหันผลิดกระแสไฟฟ้า เอาไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีกสารพัด จ่ายไฟให้โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ อะไรสารพัด ก็ล้วนเกิดมาจากการกักเก็บน้ำ สร้างเขื่อนขึ้นมา”อารมณ์ทั้งหลายของคนเราก็เหมือนกระแสน้ำที่มันกระจัดกระจาย ไม่สามารถที่จะมีพลังได้ แต่พอเรานึก “พุทโธ พุทโธ” มันก็กลายเป็นการกักเก็บที่จะสามารถสร้างพลังจิตขึ้นมา เมื่อสร้างพลังจิตขึ้นมาแล้วจะเก็บเอาไว้ ก็เหมือนกับเรามีเงินเก็บฝากแบงก์ฝากธนาคารไว้ใช้เมื่อเวลาจำเป็น “ประโยชน์สำคัญที่สุด ก็คือ เมื่อเวลาที่เราจะดับชีพทำลายขันธ์ เวลาที่เราจะต้องตายเราต้องสละร่างนี้แล้ว เหลือแต่ดวงวิญญาณในขณะนั้น ถ้าหากเราไม่มีสมาธิ มันก็ไม่มีอะไรที่จะยึดเหนียว อันนี้ก็สุดแล้วแต่บุญกรรมจะพาไป แต่ถ้าหากว่าเรามีสมาธิแล้ว เราสามารถคอนโทรล สามารถที่จะควบคุมจิตใจของเรานี้ได้ในช่วงวินาทีสุดท้าย พลังจิตจะเกิดขึ้นสามารถที่จะทำให้เราพ้นจากอบายได้”ด้วยเหตุดังกล่าว องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้แสดงธรรมไว้ว่า "ธัมมัง เทติ สีลัง รักขติ ภาวนานัง ภะเวตะวา เอกัจโจ สัคคัง คัจฉะติ เอกัจโจ โมกขัง คัจฉะติ นิสสังตะยัง" จงพากันให้ทานเถิด จงพากันรักษาศีลเถิด และจงพากันทำสมาธิเถิด "เอกัจจัง สัคคัง คัจฉะติ" จะได้ไปสวรรค์